เมื่อเป็นแบบนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่า หากไม่ได้กินกาแฟ แล้ว The Latte Factor นั้นเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์หรือความสำคัญของการออมเงินอย่างไร บอกได้เลยว่าเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างมาก ลองคิดดูง่าย ๆ ว่า เดือน ๆ นึงเราต้องเสียค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ บ่อยครั้งอย่างการซื้อชานมไข่มุก กินบุฟเฟ่ต์ ชาบู ปิ้งย่าง อาหารหรู หรืออาจจะเป็นค่าวินมอเตอร์ไซค์ เครื่องสำอาง บุหรี่ เหล้า รวมถึงของใช้ต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีความจำเป็นต่อชีวิตไปแล้วเท่าไหร่ เห็นแล้วใช่ไหมล่ะว่าเยอะมากพอที่นำเงินมาเก็บได้เลยแหละ
เมื่ออ่านถึงตรงนี้ คุณอาจจะสงสัยว่า “ไม่ให้เรามีความสุขกับการใช้ชีวิตเลยเหรอ” หรือไม่ก็ “เราไม่สามารถเลือกความสะดวกสบายให้ชีวิตเลยใช่ไหม” คำตอบคือได้! และเราไม่ได้จะให้คุณตัดทุกค่าใช้จ่ายทิ้งเพื่อนำมาเป็นเงินเก็บ แต่เราอยากขอให้คุณลองนับวันที่คุณซื้อกาแฟ รวมถึงทำบัญชีค่าใช้จ่ายดูว่ามีเงินส่วนไหนที่สามารถตัดเพื่อมาเป็นเงินออมได้หรือไม่ หรือว่ามีทางเลือกอื่น ๆ ในการเก็บเงินเพิ่มเติมอีกหรือไม่ เช่น การซื้อเครื่องกาแฟมาทำเองหรือหาร้านที่ราคาถูกลง การเปลี่ยนนิสัยจากกินชาบูทุกอาทิตย์มาเป็นเพียงเดือนละครั้งแทน หรือปกติลงบีทีเอสแล้วต้องนั่งวินราคา 10-15 บาทไปทำงาน แต่เปลี่ยนมาเป็นออกเร็วขึ้นเพื่อเดินไปทำงานดีไหม เป็นต้น
แท้จริงแล้ว ประโยชน์ในการออมเงินไม่ได้มีเพียงการเพิ่มเงินในบัญชี แต่เป็นการช่วยให้เรามองเห็นชีวิตในหลายมุมมากยิ่งขึ้น ลองคิดดูว่า หากเรานำเงินที่จ่ายไปกับการสังสรรค์ หรืออาหาร เครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายในทุก ๆ วัน เราจะมีสุขภาพดีขึ้นขนาดไหน หรือ การเดินไปทำงานแทนนั่งวินมอเตอร์ไซค์ก็อาจช่วยให้เราแข็งแรงทีละนิดได้ในแต่ละวัน ดังนั้น หากเราลองปรับมุมมองสักเล็กน้อย เราจะพบว่า การออมเงินนั้นสามารถเริ่มต้นได้จากการปรับชีวิตประจำวันทีละนิดนั่นเอง และหลังจากที่เราเริ่มมีเงินออมจากการเก็บเล็กผสมน้อยเช่นนี้ เราจึงค่อยนำเงินไปต่อยอดด้วยการลงทุนวิธีต่าง ๆ ก็ไม่เสียหาย
2. เพิ่มทริคการเก็บเงินนิดด้วยหลัก 6 JARS
เทคนิคการออมเงินแบบ 6 JARS ถือว่าเป็นวิธีเริ่มเก็บออมที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ โดยวิธีนี้ถูกคิดค้นขึ้นมาโดยนักธุรกิจมหาเศรษฐีชื่อ T. Harv Eker ผู้โด่งดังจากหนังสือ Secrets of the Millionaire Mind ภายในหนังสือเล่มนี้ได้มีการเสนอแนวคิดและประโยชน์ของการออมเงินลักษณะนี้ไว้ว่า การเก็บเงินแบบ 6 โหลจะช่วยให้เราบริหารเงินที่ได้รับมาแต่ละเดือนได้อย่างลงตัว และทำประโยชน์ได้มากที่สุดแบบหนึ่ง โดยเราสามารถแบ่งโหลทั้ง 6 ได้ตามลักษณะการใช้ต่อไปนี้
เพื่อมีวินัยการออมเงินที่ดีและบรรลุวัตถุประสงค์ของการออม โหลนี้ควรหักออกจากเงินเดือนทั้งหมดเป็นโหลแรก เพราะหากเรามีปัญหาอะไรหรือมีรายจ่ายจำเป็นนอกเหนือรายการอื่น ๆ เราจะได้มีเงินไว้ใช้ โดยหากเงินเดือน 25,000 บาท เราก็ควรจะเก็บออมให้ได้ 2,500 บาทต่อเดือน
เป็นโหลที่เราเก็บไว้เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันทั้งหมด เช่น ค่าที่อยู่อาศัย ค่าน้ำค่าไฟ ค่าอาหาร บิลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมถึงค่าสาธารณูปโภคทั้งหมด หากใช้ตัวอย่างเดิม เงินที่เราจะใช้จ่ายได้จะอยู่ที่ 13,750 บาทต่อเดือน
หลังจากแบ่งให้โหลอื่น ๆ แล้ว โหลนี้จะเป็นส่วนเงินที่จะนำไปลงทุนตามแบบต่าง ๆ ที่เราต้องการ โดยเราจะลงทุนได้ 2,500 บาทต่อเดือน
เป็นโหลที่ออมไว้สำหรับพัฒนาตัวเอง เช่น การลงคอร์สสอนธุรกิจต่าง ๆ หรือ การพัฒนาตัวเองในด้านอื่น ๆ ที่เราสนใจ ซึ่งเราจะมีเงินส่วนนี้อยู่ที่ 2,500 บาทต่อเดือน
ทำงานมาอย่างหนัก ทุ่มเทเก็บเงินขนาดนี้ การให้รางวัลกับตัวเองสักนิดก็คงจะช่วยให้มีกำลังใจในการเก็บเงินมีมากขึ้นแน่นอน โดยเงินส่วนนี้เราจะนำไปทำอะไรก็ได้ที่เราอยากทำ ซึ่งงบต่อเดือนจะอยู่ที่ 2,500 บาท
โหลสุดท้ายมีไว้เพื่อแบ่งปันสังคม เช่น การบริจาคต่าง ๆ หรืออาจจะเป็นการซื้อของขวัญให้เพื่อน ๆ ในโอกาสสำคัญ เช่น วันเกิด หรือ การแต่งงาน เป็นต้น โดยเราสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 1,250 บาทต่อเดือน
เป็นอย่างไรกันบ้างกับเทคนิคเริ่มเก็บออมตามฉบับนักการเงินชื่อดังที่เรานำมาฝากในวันนี้ เข้าใจไม่ยากแถมทำตามได้ง่าย ๆ แบบไม่กดดันเลยใช่ไหมล่ะ ซึ่ง Kept ขอแอบกระซิบเพิ่มเติมว่า จริง ๆ แล้วเทคนิคทั้ง 2 นี้สามารถนำมาปรับใช้ร่วมกันตามกำลังที่เราไหวได้ด้วยนะ เช่น หากเราสังเกตว่าเรากินกาแฟวันละ 2 แก้ว ตกแก้วละ 80 บาท เราอาจหาซื้อกาแฟร้านที่ถูกลงและนำเงินที่เหลือตรงนี้จากโหลใช้จ่ายประจำวันมาเพิ่มในโหลออมเงินระยะยาวก็ย่อมได้เช่นกัน แถมเทคนิคพิเศษที่เหมาะกับการบริหารเงินอย่างชาญฉลาดในยุคนี้ด้วย
แอปพลิเคชัน Kept โดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่ทำให้เราบริหารจัดการเงินได้ง่ายและสนุกขึ้น ด้วยการทำงานร่วมกันอัตโนมัติของ 3 บัญชี ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือน 1 กระเป๋า 2 กระปุก (บัญชี Kept, Grow, Fun) อยากรู้ว่าดียังไง คลิกด้านล่างนี้ สุดท้ายนี้ ถึงความสำคัญของการออมจะอยู่ที่การมีเงินใช้ในอนาคต แต่ก็ต้องอย่าลืมว่า เราเองก็ต้องใช้ชีวิตเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ขออย่าได้กดดันและประหยัดจนไม่มีความสุขล่ะ