Kept by krungsri
GET - On the App Store
เทคนิคการออม

Kept พาเช็ก 5 เคล็ดลับตั้งเป้าหมายเก็บเงินปี 2022 ให้ได้ผลจริง

Share

Highlight

ปีนี้คุณทำ New Year’s Resolution ครบแล้วหรือยัง? คำถามยอดฮิตในช่วงสิ้นปีของทุกคน Kept พาเช็ก 5 เคล็ดลับตั้งเป้าหมายเก็บเงินปี 2022 ให้ได้ผลจริง มาดูกันเลย!

เคล็ดลับ 1: ตั้งเป้าหมายขนาดพอดี
เคล็ดลับ 2: แบ่งเป้าหมายที่สร้างไว้ออกเป็น Mission หรือภารกิจย่อย ๆ
เคล็ดลับ 3: กำหนดรายละเอียดให้ชัดเจนก่อนลงมือทำ
เคล็ดลับ 4: เตือนตัวเองอยู่เสมอ
เคล็ดลับ 5: อย่าลืมให้รางวัลตัวเอง

แนะนำ 5 เคล็ดลับตั้งเป้าหมายเก็บเงินปี 2022 อย่างไรให้ได้ผลจริง

          ปีใหม่ใกล้เข้ามาถึงอีกครั้ง แล้วคุณทำ New Year’s Resolution ครบแล้วหรือยัง? เคยสังเกตไหมไม่ว่าจะตั้งเป้าหมาย New Year’s Resolution เอาไว้เข้มข้นมากแค่ไหน แต่พอสิ้นปีทีไร เป้าหมายเหล่านี้ก็แผ่วลงไปพร้อมกับปีที่กำลังจะจบทุกที แถมในความเป็นจริงแล้ว มีเพียง 1 ใน 5 คนบนโลกเท่านั้นที่สามารถทำเป้าหมายที่ตั้งไว้สำเร็จ 
          แต่อย่าเพิ่งหลงดีใจว่าเราเป็นประชากรอีก 4 ใน 5 ที่เหลือ หรือคิดว่า “เดี๋ยวค่อยตั้งเป้าหมายใหม่ก็ได้” เพราะอย่าลืมว่า New Year’s Resolution ที่ผ่านไปในแต่ละปีก็ย่อมหมายถึงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้พลังและความกระตือรือร้นในการพิชิตเป้าหมายก็อาจลดลงตามไปด้วย ดังนั้น หากยังทำเป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่สำเร็จล่ะก็ เราต้องหันกลับมาทบทวนอีกรอบแล้วว่า เป้าหมายของเราชัดเจนจริงหรือไม่ สามารถวัดผลได้ไหม หรือจริง ๆ แล้ว เป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นอาจเป็นสิ่งที่เราไม่ได้ต้องการจริง ๆ จนทำให้เลิกล้มความตั้งใจไปได้ง่าย ๆ    
          เพื่อช่วยให้ทุกคนมีกำลังใจและมุ่งไปยังเป้าหมายของชีวิต โดยเฉพาะเป้าหมายการเงินที่เป็นหนึ่งใน New Year’s Resolution ที่หลาย ๆ คนตั้งเอาไว้ Kept by Krungsri ขออาสาพาไปรู้จักกับ 5 เคล็ดลับการตั้งเป้าหมายเก็บเงินปี 2022 ที่จะช่วยให้ทุกคนมีเงินเก็บยาวถึงสิ้นปี แถมยังทำได้จริงแบบไม่กดดัน  และยังสามารถปรับไปใช้กับเป้าหมายอื่น ๆ ได้อีกด้วย แล้วแต่ละเคล็ดลับจะเป็นอย่างไร มาดูไปพร้อมกันได้เลย

เคลดลบตงเปาหมาย.jpg
 

เคล็ดลับ 1: ตั้งเป้าหมายขนาดพอดี

          หลายคนอาจมองว่าการตั้งเป้าหมายที่ใหญ่เข้าไว้จะช่วยทำให้เรามีแรงฮึดสู้และฝ่าฟันจนทำเป้าหมายให้สำเร็จได้ แต่สำหรับการตั้งเป้าหมายปี 2022 และปีอื่น ๆ หลังจากนี้ Kept by krungsri อยากขอแนะนำให้ทุกคนลองจำกัดเป้าหมายให้อยู่ในระดับที่พอดี และมองเห็นภาพความสำเร็จได้จริงในระยะ 1 ปี เพราะการตั้งเป้าหมายที่ ‘ใหญ่’ กว่ากำลังของเรา อาจเป็นการกดดันตัวเองมากเกินไปจนถอดใจได้ในที่สุด
          เช่น หากตอนนี้เงินเดือนอยู่ที่ 20,000 บาทก็อาจตั้งเป้าเล็ก ๆ ไว้ว่าจะเก็บเงินสดอย่างเดียวให้ได้อย่างน้อย 60,000 บาท หรือคุณอาจตั้งเป้าหมายในการออมของตัวเองเป็นการซื้อกระเป๋าใบโปรดเพื่อเป็นของขวัญส่งท้ายปีใหม่รอบหน้าก็ได้เช่นกัน

ตงเปาหมายตามหลก-SMART.jpg
 

เคล็ดลับ 2: แบ่งเป้าหมายที่สร้างไว้ออกเป็น Mission หรือภารกิจย่อย ๆ

          หลังจากตั้ง New Year’s Resolution เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่คนมีเป้าหมายในปี 2022 ทุกคนควรทำคือการสร้าง Mission หรือภารกิจย่อย ๆ ภายใต้เป้าหมายใหญ่ที่ตั้งไว้ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ทุกคนรู้สึกว่าเราสามารถพิชิตเป้าหมายไปได้ทีละนิดอย่างสบายขึ้น และให้ความรู้สึกเหมือนเป็นการสร้างรากฐานความสำเร็จไปทีละขั้นจนในที่สุดก็อาจสำเร็จได้โดยไม่ทันตั้งตัว
          ที่สำคัญ Kept by krungsri ขอแนะนำว่า การแบ่ง Mission เล็ก ๆ นี้ควรเขียนออกมาเป็นเช็กลิสต์ให้ทำในแต่ละเดือน โดยเริ่มต้นจากการทำภารกิจที่ง่ายและค่อย ๆ ไต่ไปยังภารกิจที่ยากขึ้น ซึ่งหากใครไม่รู้ว่าการทำเช็กลิสต์แบบนี้ช่วยให้ถึงเป้าหมายได้อย่างไร ให้ลองคิดง่าย ๆ ขนาดในวันทำงานธรรมดา การติ๊กเครื่องหมายถูกให้ช่องเช็กลิสต์ที่ว่างเปล่านั้นยังให้ความรู้สึกฟิน แถมยังสร้างกำลังใจและแรงกระตุ้นให้ทำงานต่อไปได้ได้อย่างไม่น่าเชื่อ
          เช่น หากเป้าหมายปี 2022 นี้คือการลดน้ำหนักให้ได้ 10 กิโลกรัม เราก็ควรตั้งเป้าหมายย่อย ๆ ในแต่ละเดือนว่าเราจะลดน้ำหนักให้ได้ประมาณกี่กิโลกรัม และในแต่ละสัปดาห์มีแผนการออกกำลังกายแบบไหนบ้าง รวมถึงการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในช่วงที่เรากำลังลดน้ำหนัก ว่าควรจะมี Cheat Meal แบบใดที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด

Meal-Plan.jpg
 

เคล็ดลับ 3: กำหนดรายละเอียดให้ชัดเจนก่อนลงมือทำ

          หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ New Year’s Resolution กลายเป็นตัวอย่างของความล้มเหลวก็คือการไม่วางแผนให้ละเอียดและชัดเจนก่อนลงมือทำว่าเราจะถึงเป้าหมายได้อย่างไร ซึ่งสำหรับในปี 2022 และปีต่อ ๆ ไป เมื่อกำหนดเป้าหมาย และแบ่ง Mission ให้เป้าหมายแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องทำให้ได้ก่อนลงมือทำก็คือ ตอบคำถามต่อไปนี้
  • เป้าหมายนี้มีไว้ทำไม
  • มีวิธีอะไร หรือต้องไปที่ไหน ถึงจะพิชิตเป้าหมายนี้ได้บ้าง
  • เป้าหมายนี้มีระยะเวลาในการลงมือทำนานเท่าไหร่
          ถ้าตอบคำถามทั้งหมดนี้ได้ เราก็จะเห็นภาพของเป้าหมายตัวเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เราทำตามเป้าหมายได้อย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
          เช่น เราตั้งเป้าหมายปี 2022 ว่าจะซื้อคอนโดมิเนียมกลางเมืองสักห้อง เราก็ต้องกลับมาคิดถึงเหตุผลในการซื้อ ซื้อไปเพื่ออะไร คิดวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนระยะยาว จากนั้นค่อยมาวางแผนต่อว่าเราจะมีวิธีบริหารเงินอย่างไร โดยคำนวณว่า หากวางเป้าหมายไว้ในปี 2022 เราควรจะใช้เวลาเก็บเงินเพื่อดาวน์ห้อง และผ่อนต่อเดือนเท่าไหร่ เป็นระยะเวลาเท่าไหร่ หรือต้องวางแผนกู้จากธนาคารอย่างไร เพื่อให้ได้ห้องคอนโดที่ต้องการ และเหมาะสมกับการเงินกับตัวเองมากที่สุดภายในระยะเป้าหมายที่ตั้งใจไว้
 

เคล็ดลับ 4: เตือนตัวเองอยู่เสมอ

          เคยสังเกตไหม? ทำไม New Year’s Resolution ของแต่ละปีไม่สำเร็จเลย นั่นอาจเป็นเพราะว่าเราอาจหลงลืมเป้าหมายที่ตั้งไว้ในระหว่างปี จนบางครั้งกว่าจะนึกได้ก็ปาเข้าไปจะสิ้นปีแล้ว ซึ่งบางทีต่อให้เร่งทำในภายหลังก็ยากที่จะสำเร็จ ดังนั้น เราจึงควรหาวิธี ‘เตือนตัวเอง’ อยู่เสมอเพื่อไม่ให้หลงลืมเป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้ 
          เช่น การเขียนโพสต์อิทแปะไว้ที่ตู้เย็น หรือสถานที่ที่สามารถมองเห็นได้บ่อย ๆ หรือการตั้งแจ้งเตือนในโทรศัพท์มือถือเป็นประจำ หรืออาจบอกญาติสนิทมิตรสหายไว้เพื่อให้ทุกคนคอยช่วยเตือนให้เรามุ่งหน้าไปยังเป้าหมายให้ได้
          ไม่เพียงแต่การเตือนตัวเองอย่างที่บอกไปข้างต้นเท่านั้น แต่คนมีเป้าหมายทุกคนยังต้องเตือนตัวเองด้วยข้อความที่มีพลัง ไม่ดูถูกตัวเอง และมีความหมายชัดเจน เช่น หากตั้งเป้าหมายในปี 2022 ไว้ว่าจะออมเงินให้ได้มากที่สุด ก็ควรเลือกวงเงินที่ต้องการออมให้ชัดเจนอย่าง 1 ล้านบาท หรือ 1 แสนบาท หรืออาจเลือกจำนวนเงินที่คิดว่าเหมาะสมกับรายได้ของเราที่สุดเพื่อไม่เป็นการกดดันตัวเอง และลองดูว่าทุกเดือนเราได้เท่าไหร่แล้วจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพื่อให้เราไม่ลืมที่จะติดตามผลของเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอ
 

เคล็ดลับ 5: อย่าลืมให้รางวัลตัวเอง

          ถึงการตั้งเป้าหมายจะจำเป็นมากเพียงใด แต่การพักผ่อนและเติมกำลังใจระหว่างทางก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้นอย่าลืมสร้างกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเป็นกำลังใจให้ตัวเองก้าวไปสู้เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ด้วย
          เช่น เราเลือกแทรกกิจกรรมการกินชาบูหรือปิ้งย่างเข้าไว้ทุก ๆ 3 เดือนเพื่อให้ตัวเองได้กินของอร่อยๆ ในช่วงลดน้ำหนักเป็นรางวัล หากทำได้ดีน้ำหนักลดตามที่วางแผนไว้ใน 3 เดือนแรก หรือหากใครตั้งเป้าหมายเก็บเงินปี 2022 เอาไว้ก็สามารถซื้อของที่อยากได้เล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างทางในงบที่ตั้งไว้เพื่อช่วยให้มีกำลังใจในการเก็บเงินต่อไป เป็นต้น
          ในช่วงส่งท้ายปีเช่นนี้ ลองมาปรับโฟกัสตาม 5 เคล็ดลับที่บอกไปสักนิด บอกเลยว่าทุกคนก็สามารถพิชิต New Year’s Resolution เรื่องการเงินและทุก ๆ เรื่องที่ต้องการได้ไม่ยาก ซึ่งหากใครมีแพลนว่าจะเก็บเงินให้ได้ภายในปี 2022 ที่กำลังจะถึงนี้ ก็สามารถวางแผนและจัดการเป้าหมายการเงินของตัวเองให้เป็นสัดส่วนมากยิ่งขึ้นด้วยกระปุก Together จาก Kept by krungsri ที่จะช่วยให้คุณพิชิตทุกเป้าหมายการเก็บเงินของตัวเอง แถมยังชวนเพื่อน คนรัก และคนในครอบครัวมาเก็บด้วยกันและดูความสำเร็จและเป็นกำลังใจให้กันได้ด้วย แค่มีแอป Kept เหมือนกัน คลิกที่นี่  เพื่อรู้จักกระปุก Together ให้มากขึ้น
Credit-cards.jpg

 

ทกเปาหมายการออมงายและเปนสดสวนกวาเดม.jpg