ชวนมาดาวน์โหลด Kept
รับดอกเบี้ยสูงสุด 2% ต่อปี* ถอนได้ ไม่มีเงื่อนไข!
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกของ AI ดูเหมือนจะถูกครอบงำโดยยักษ์ใหญ่จากสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น OpenAI, Google หรือ Meta แต่ในวันนี้ภาพนั้นกำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เมื่อจีนไม่ได้เลือกที่จะเล่นตามหลังอย่างเงียบ ๆ อีกต่อไป แต่กลับเปิดเกมรุกเต็มสูบด้วยทรัพยากรและความมุ่งมั่น กลายเป็นผู้ท้าชิงที่ไม่อาจมองข้ามในเวทีเทคโนโลยีโลก แล้วเราในฐานะนักลงทุนจะมองเห็นโอกาสอะไรจากปรากฏการณ์นี้บ้าง?
จีนกำลังแสดงให้เห็นถึงความจริงจังในการพัฒนา AI ผ่านการเคลื่อนไหวของบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ที่พร้อมทุ่มทุนและนวัตกรรมเพื่อก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในวงการนี้
เริ่มจาก
Baidu
กับแชตบอทอย่าง
Ernie Bot
โดยมีโมเดลเรือธงคือ
Ernie X1
ซึ่งมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ DeepSeek-R1 และ GPT-4 โดย Baidu ยังคงปรับปรุงพัฒนา Ernie X1 อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความสามารถและความแม่นยำในการทำงาน
Baidu ยังเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติ ผ่าน
Apollo
แพลตฟอร์มที่ใช้ AI ในการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ
ขณะเดียวกัน
Alibaba
ยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซและคลาวด์คอมพิวติ้ง ก็ไม่ยอมน้อยหน้าด้วยการประกาศทุ่มเงินลงทุนในเทคโนโลยี AIถึง
50,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.68 ล้านล้านบาท)
โดยเฉพาะโมเดล
Qwen
ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งระดับโลกอย่าง ChatGPT และ DeepSeek
นอกจากนี้ ยังมี
Alibaba Cloud
ที่ใช้ AI เพื่อให้บริการโซลูชั่น AI ให้กับธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงการใช้ AI ในการวิเคราะห์ Big Data
ในฝั่งของ
Tencent
บริษัทที่ครองใจผู้ใช้ผ่าน WeChat และเกมออนไลน์ยอดฮิตเช่น League of Legends และ PUBG Mobile ก็เร่งเครื่องพัฒนา Cloud AI โดยเตรียมใช้งบลงทุนกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 370,000 ล้านบาท)
โดยเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Tencent ได้เปิดตัว
Yuanbao
แชตบอทที่ผสานเทคโนโลยี
Hunyuan ซึ่งพัฒนาโดย Baidu
เข้ากับโมเดลการให้เหตุผลจาก
DeepSeek
เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่การแชตไปจนถึงการช่วยเหลือในงานที่ซับซ้อน
ด้านผู้เล่นหน้าใหม่อย่าง
DeepSeek
ก็ได้สร้างความฮือฮาไปก่อนหน้านี้ ด้วยการปล่อยโมเดล AI ใหม่ที่เน้นประสิทธิภาพสูงในราคาที่ต่ำกว่าอย่าง
DeepSeek-R1
ที่ถูกยกย่องว่าสามารถเทียบชั้นกับโมเดลชั้นนำอย่าง GPT-4 ได้ในต้นทุนเพียง 5.6 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถูกกว่าถึง 95% เมื่อเทียบกับคู่แข่งจากสหรัฐฯ ที่ใช้เงินในการพัฒนาถึง 100 ล้านดอลลาร์
สิ่งที่ทำให้ AI สไตล์จีนแตกต่างคือแนวทางการพัฒนาที่เน้นประสิทธิภาพภายใต้ข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็นการถูกคว่ำบาตรชิปจากสหรัฐฯ หรือการต้องพึ่งพาทรัพยากรภายในประเทศ ความท้าทายเหล่านี้กลับกลายเป็นแรงผลักดันให้จีนคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ
เช่น การใช้สถาปัตยกรรม MoE (Mixture of Experts) ในโมเดลของ DeepSeek ที่ช่วยลดการใช้พลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพ หรือการพัฒนาเฟรมเวิร์กอย่าง Chitu ที่เพิ่มความเร็ว AI ได้ถึง 315% พร้อมลดการพึ่งพา GPU ลงครึ่งหนึ่ง
ทิศทางของ AI จีนอาจไม่ได้หยุดแค่การแข่งขันในระดับเทคโนโลยี แต่ยังมีโอกาสขยายอิทธิพลไปสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งต้องการโซลูชันราคาถูกแต่ทรงพลัง
อ้างอิง:Business Today, Reuters, South China Morning Post
คำเตือน:
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299