ชวนมาดาวน์โหลด Kept
รับดอกเบี้ยสูงสุด 2% ต่อปี* ถอนได้ ไม่มีเงื่อนไข!
หากพิจารณานโยบายที่เป็นไฮไลท์ของโดนัลด์
ทรัมป์
ในรอบนี้
คงจะขาดนโยบายพลังงานของอเมริกาไปเสียไม่ได้
เนื่องจากมีความแตกต่างจากสมัยโจ
ไบเดน
อย่างสิ้นเชิง
โดยทรัมป์มีสโลแกน
“Drill, Baby, Drill”
แถมยังพาสหรัฐถอนตัวออกจากข้อตกลง Paris Accord ว่าด้วยพลังงานสีเขียวของประชาคมโลก
บทความนี้
ขอพามาพิจารณาว่าจะลงทุนในตลาดสหรัฐว่าด้วยกลุ่มพลังงานธีมไหนและตรงไหนดี
สำหรับนโยบายพลังงานในยุคทรัมป์
2.0
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าคำสั่ง
Executive Order
ของทรัมป์ที่ได้ออกมาก่อนหน้านี้
ว่าด้วย
Energy Emergency
ที่ประกาศให้มีการอนุมัติการสร้างท่อส่งก๊าซและโรงผลิตไฟฟ้าโดยไม่ต้องเข้าสู่การยื่นขอต่อทางการตามขั้นตอนทางกฎหมายซึ่งมักจะใช้เวลาค่อนข้างยาวนาน
ยังคงเน้นพลังงานในกลุ่มฟอสซิลและนิวเคลียร์เป็นหลัก
โดยกลุ่มพลังงานทางเลือก
อาทิ
แบตเตอรี่
พลังงานแสงอาทิตย์
และพลังงานลม
อาจจะพอมองได้ว่าถูกด้อยค่าแม้จะไม่ได้ทั้งหมด
โดยหากจะให้เรียงความน่าสนใจในการลงทุนของหุ้น
ETF
หรือกองทุนในพลังงานประเภทต่าง ๆ ของสหรัฐ
ประเมินว่าความน่าสนใจเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่
ก๊าซธรรมชาติ
,
นิวเคลียร์
,
และ
น้ำมัน
ตามลำดับ
เริ่มจากก๊าซธรรมชาติ
โดยการเติบโตของอุปสงค์ก๊าซธรรมชาติในสหรัฐ
มาจาก
2
แหล่ง
ประกอบด้วย
หนึ่ง
การส่งออกก๊าซธรรมชาติเหลว
หรือ
LNG
ไปยังเอเชียและยุโรปที่มีอัตราการเติบโตที่สูงมาก
และ
สอง
อุปสงค์ด้านการใช้ไฟฟ้าของ
Data Center
สำหรับการเทรนนิ่ง
Artificial Intelligence (AI)
โดยคาดว่าอุปสงค์จะเพิ่มขึ้น
10-20%
ภายในปี
2030
แม้การยกเลิก
sanction
ต่อการส่งออกพลังงานของรัสเซียอาจจะทำให้มีคู่แข่งในเซกเมนต์นี้เพิ่มขึ้น
ทว่าคงจะไม่ได้ทำให้ตลาดในส่วนดังกล่าวอ่อนตัวลงแต่อย่างใด
ทั้งนี้
ทรัมป์ได้ยกเลิกคำสั่งของไบเดนที่สั่งระงับการสร้างท่าเรือที่ไว้เป็นฐานการส่งออก
LNG
ในสหรัฐเพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อม
หลังจากที่คาดการณ์ว่ากำลังการผลิตจะเพิ่มเป็น
2
เท่าในปี
2028
โดยทรัมป์ได้อนุมัติให้มีการสร้างเพิ่มไปแล้ว
เพื่อให้ใช้เป็นฐานการส่งออกในปี
2029
เป็นต้นไป
สำหรับในมุมของการลงทุน
ด้าน
Dow Jones News Services
ได้ออกรายงานว่า
แม้ธุรกิจการส่งออก
LNG
จะถือเป็นกลุ่มที่มีเม็ดเงินอยู่ค่อนข้างมหาศาล
อาทิ
หุ้น
Cheniere Energy
มีราคาเพิ่มขึ้น
1
เท่าตัวในช่วง
3
ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี
ในช่วงปีที่ผ่านมา
ถือว่ามีภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ
โดยคาดว่าในปี
2027
จะมีอุปทาน
LNG
ออกมาสู่ตลาดค่อนข้างมาก
จะเห็นได้จากหุ้น
Venture Global
ซึ่งทำธุรกิจ
LNG
ชั้นนำ
ราคาหุ้นได้ร่วงราว
30%
นับตั้งแต่
IPO
ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี
หลายฝ่ายยังมองว่าบริษัทผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติสหรัฐน่าจะได้ประโยชน์จากการส่งออก
LNG
ที่มีมากขึ้นในยุคของทรัมป์
อาทิ
หุ้น
Antero Resources
ที่ราคาหุ้นขึ้นมาราว
50%
เมื่อปีที่แล้ว
ยังคงเทรดด้วยราคา
P/E
เพียง
13.3
เท่า
โดยเป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในโรงงานผลิต
LNG
ซึ่งน่าจะได้ประโยชน์จากการส่งออก
นอกจากนี้
ยังมีหุ้น
Chart Industries
ที่ผลิตอุปกรณ์ถังเก็บหัวเชื้อที่ใช้ในการผลิต
LNG
ในโรงงาน
ซึ่งได้ลงนามสัญญากับ
Exxon Mobil
ในการป้อนผลิตภัณฑ์ให้
โดยที่ราคาหุ้นขึ้นมาราว
50%
เมื่อปีที่แล้ว
ยังคงเทรดด้วยราคา
P/E
เพียง
15.5
เท่า
แหล่งพลังงานที่น่าสนใจลำดับถัดมา
ได้แก่
พลังงานนิวเคลียร์
ซึ่งล่าสุดมีความคึกคักเพิ่มขึ้นจากในอดีต
หลังจาก
Big Tech
อาทิ
Microsoft
หันมาซื้อพลังงานจากโรงงานผลิตพลังงานนิวเคลียร์ในรัฐเพนน์
ซิลวาเนีย
ทั้งนี้
รัฐบาลทรัมป์ก็ดูจะชื่มชอบพลังงงานประเภทนี้อยู่ไม่น้อย
จากที่ได้กล่าวถึงใน
Executive Order
และแต่งตั้งบุคคลที่ชื่นชอบพลังานแนวนี้
อย่าง
คริส
ไรท์
ซึ่งเป็นบอร์ดของบริษัทแนวดังกล่าวอย่าง
Oklo
ขึ้นเป็นรัฐมนตรีพลังงานท่านใหม่
รวมถึงความสนใจในพลังงานนิวเคลียร์เห็นได้อย่างชัดเจนมากผ่านงานสัมมนาด้านการเงินว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์
ที่นิวยอร์ค
ที่มีผู้เข้าร่วมเพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆกว่า
50%
ในช่วงต้นปีนี้
สำหรับการหนุนจากภาครัฐในธุรกิจของอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์
นอกจาก
Tax credit
ที่ได้รับตั้งแต่จากสมัยรัฐบาลไบเดนแล้ว
ยังต้องการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากภาครัฐ
โดยถือเป็นเรื่องปกติของอุตสาหกรรมนี้
ที่งบประมาณที่ใช้จ่ายจริงสำหรับสร้างโรงงานใหม่หรือทำการขยายโรงงานเก่าจะสูงกว่าที่วางแผนไว้ก่อนหน้า
ทำให้นักธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ต้องการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาล
สำหรับราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานนิวเคลียร์ของสหรัฐ
ถือว่ามีอัตราผลตอบแทนที่ถือว่าสูงมากในปีที่แล้ว
โดย
Oklo
ที่ถือว่าเป็น
Start-up
ซึ่งยังมิได้มีโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่เป็น
Commercial
มีผลตอบแทนให้กับนักลงทุนถึง
300%
ในปีที่ผ่านมา
สำหรับหนึ่งในหุ้นกลุ่มนี้ที่ดูแล้วถือว่าน่าสนใจ
ได้แก่
กลุ่มที่ผลิตเชื้อเพลิงสำหรับโรงงานผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์
อาทิ
หุ้น
Cameco
ซึ่งเป็นบริษัทแคนาดาที่ถลุงแร่ยูเรเนียมในสหรัฐและแคนาดา
รวมถึงถือหุ้นในบริษัท
Westinghouse
ซึ่งออกแบบ
nuclear-reactor
โดยที่ราคาหุ้นขึ้นมาราว
13%
เมื่อปีที่แล้ว
แม้จะเทรดด้วยราคา
P/E
ถึง
42.3
เท่าในปัจจุบัน
ท้ายสุด
พลังงานน้ำมัน
แม้ว่าทรัมป์จะมีนโยบายเน้นให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานด้วยการให้อเมริกาผลิตน้ำมันในปริมาณที่สูงขึ้นไปอีก
จะไปกดดันให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง
ทว่าต้องไม่ลืมว่าทรัมป์ก็ไปกดดันให้ประเทศต่าง ๆ ที่นำเข้าน้ำมัน
อาทิ
อินเดีย
หันมาซื้อน้ำมันของอเมริกา
รวมถึงนโยบายด้านการต่างประเทศของทรัมป์เองที่ต้องการผูกมิตรกับซาอุดิอาระเบีย
โดยได้ไปจัดการประชุมเจรจาการยุติสงคราม
Gaza
ระหว่างอิสราเอลกับคู่กรณีต่างๆที่ซาอุดิอาระเบีย
จึงมีความเป็นไปได้เหมือนกันที่จะสามารถบรรลุข้อตกลงด้านการผลิตน้ำมันกับประเทศยักษ์ใหญ่ในตะวันออกกลางได้ในอนาคต
ดร. บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ, CFP
MacroView, macroviewblog.com