311 views
14 February 2025

ในปี 2025 สหรัฐฯ มีหนึ่งปัจจัยสำคัญที่อาจเปลี่ยนทิศทางของตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลก

นั่นก็คือหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ปัจจุบันอยู่ที่

36.4 ล้านล้านดอลลาร์

หรือประมาณ

120% ของ GDP

ซึ่งหมายความว่าสหรัฐฯ มีหนี้มากกว่าขนาดเศรษฐกิจของตัวเอง 

แต่ที่น่าสนใจมากกว่าคือข้อมูลจาก Bloomberg ระบุว่าในปี 2025 รัฐบาลสหรัฐฯ จะมีหนี้ครบกำหนด

9.2 ล้านล้านดอลลาร์

หรือ

25% ของหนี้ทั้งหมด

ซึ่งถือว่าสูงมาก และอาจเป็นปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (Bond Yield)

คำถามก็คือ จะทำอย่างไรกับหนี้ดังกล่าว เมื่อสหรัฐฯ มีหนี้มากกว่ารายได้ถึง 120%

 

รีไฟแนนซ์ครั้งใหญ่

 

สิ่งที่สหรัฐฯ ต้องทำก็คือการ

“รีไฟแนนซ์”

ด้วยการออกพันธบัตรใหม่ แต่นั่นก็คือความเสี่ยง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน

“แพง”

กว่าในอดีต 

ยกตัวอย่างเช่น พันธบัตรที่ออกในปี 2020 มีอัตราผลตอบแทน 10 ปี อยู่ที่ 0.6% แต่หากพันธบัตรดังกล่าวต้องรีไฟแนนซ์ในปี 2025 อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.4% ซึ่งหมายถึงต้นทุนหนี้ของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นมากถึง 3.8%

ด้วยปริมาณหนี้ที่สูงและภาระหนี้ที่แพงขึ้น ทำให้

Scott Bessent รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง

ระบุว่า สิ่งที่ทางรัฐบาลสหรัฐฯ ต้องการจริง ๆ ก็คือการลด Bond Yield อายุ 10 ปี เพื่อช่วยให้รัฐบาลสามารถ

“รีไฟแนนซ์”

หนี้จำนวนมหาศาลได้โดยมีต้นทุนดอกเบี้ยที่ต่ำลง

 

ความเสี่ยงที่ตามมา

 

การที่สหรัฐฯ ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ถือเป็นความเสี่ยงที่สำคัญ เพราะการออกพันธบัตรจำนวนมากเพื่อรีไฟแนนซ์หนี้ อาจทำให้ธนาคารกลางหรือรัฐบาลต่างประเทศไม่สนใจซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ เหมือนเดิม 

โดยเฉพาะเมื่อสหรัฐฯ เดินหน้าทำ Trade War เพื่อลดการขาดดุลการค้า ประเทศที่ได้รับผลกระทบจึงอาจมีความต้องการถือเงินดอลลาร์น้อยลงไปด้วย

ขณะเดียวกันความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจอาจกระตุ้นให้นักลงทุนหันไปถือสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมราคาทองคำจึงปรับตัวสูงขึ้นในช่วงนี้

 

Valuation หุ้นสหรัฐฯ ตึงตัว

 

หลายสถาบันการเงิน เช่น Goldman Sachs และ Bank of America เตือนว่า

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มี Valuation สูงเกินไป

โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม

Magnificent 7

ซึ่งมีมูลค่าพุ่งขึ้นมหาศาลในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณอย่างการที่ Warren Buffett ขายหุ้นและถือเงินสดมากที่สุดในประวัติศาสตร์ Howard Marks ตำนานนักลงทุน VI ก็ออกมาเตือนสัญญาณฟองสบู่ ด้าน Ray Dalio นักลงทุนที่เน้นการวิเคราะห์เศรษฐกิจก็ออกมาบอกว่าตอนนี้ Valuation หุ้นแพงเกินไป

เมื่อมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ เราจะเห็นวิกฤตฟองสบู่หลายครั้งมีรูปแบบคล้ายคลึงกัน นั่นก็คือการพุ่งขึ้นสูงก่อนที่ฟองสบู่จะแตก เช่น 

 

  • Dot-com Bubble ปี 2000 ดัชนี Nasdaq 100 พุ่งสูงขึ้นถึง 12 เท่าก่อนที่ฟองสบู่จะแตก 
  • ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่น ช่วงปี 1980 ดัชนี Nikkei 225 ก็เติบโตถึง 10 เท่าก่อนที่ฟองสบู่จะแตก 
  • ราคาทองคำในช่วงทศวรรษ 1970 ก็พุ่งขึ้นถึง 15 เท่าก่อนจะเข้าสู่ขาลง 
  • และช่วงปี 1960 - 1970 Nifty Fifty หุ้น 50 ตัวที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ก็เติบโต 5 เท่าก่อนจะเกิดการปรับฐาน

 

เมื่อเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบัน

หุ้นกลุ่ม Magnificent 7 ได้เติบโตถึง 30 เท่า

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และล่าสุดก็มีสัญญาณที่น่าสนใจจากกรณีของ DeepSeek ที่สามารถพัฒนา AI ด้วยงบประมาณเพียง 6 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 200 ล้านบาท)

ซึ่งอาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าการพัฒนา AI ที่มีประสิทธิภาพอาจไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลอีกต่อไป ปัจจัยนี้อาจส่งผลให้บริษัทในกลุ่ม Magnificent 7 ต้องทบทวนและปรับลดการลงทุนด้าน AI ในอนาคต

 

สถานการณ์แบบนี้ ลงทุนยังไง?

 

สหรัฐฯ กำลังเผชิญความท้าทายในการจัดการหนี้สาธารณะที่ครบกำหนดในปี 2025 ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 9.2 ล้านล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 25% ของหนี้ทั้งหมด ในสถานการณ์นี้รัฐบาลสหรัฐฯ จำเป็นต้องลด Bond Yield ลงเพื่อควบคุมต้นทุนการรีไฟแนนซ์ 

ขณะเดียวกันตลาดหุ้นก็มีความเสี่ยงจาก Valuation ที่สูงเกินไป โดยเฉพาะในกลุ่ม Magnificent 7 ที่เติบโตถึง 30 เท่าในทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มหันไปมองสินทรัพย์ปลอดภัยอย่าง

“กองทุนตราสารหนี้โลก”

มากขึ้น เนื่องจากสามารถซื้อพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนสูงในปัจจุบัน และมีโอกาสทำกำไรจากราคาพันธบัตรที่อาจปรับตัวสูงขึ้น หากผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีลดลงอย่างที่รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องการ

 

โอกาสลงทุนกองทุน Global Bond แนะนำโดย Finnomena Funds

 

 

  • KF-CSINCOM เป็นกองทุนตราสารหนี้ ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก ผ่านกองทุนหลัก PIMCO GIS Income Fund (Class I) ซึ่งมีจุดประสงค์หลักเพื่อสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอ บนความผันผวนที่ต่ำเป็นหลัก
  • UGIS-N เป็นกองทุนตราสารหนี้ ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลก ผ่านกองทุนหลัก PIMCO GIS Income Fund (Class I) โดย PIMCO เป็น บลจ.ระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารตราสารหนี้โดยเฉพาะ
  • ABGFIX-A เป็นกองทุนตราสารหนี้ ที่เน้นลงทุนใน Debt and Debt Related Securities ที่ออกโดยบริษัทและรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งมีอายุคงเหลือไม่เกิน 5 ปี ผ่าน abrdn SICAV I Short Dated Enhanced Income Fund, Class Z Acc USD (กองทุนหลัก) ที่มีการบริหารเชิงรุก (Active Management)
  • SCBFST เป็นกองทุนตราสารหนี้ ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นทั่วโลก ทั้งภาครัฐ ภาคสถาบันการเงิน และภาคเอกชน โดยมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวสูงกว่าดัชนี (Active Management)

 

 


 

อ้างอิง:Mr.Messenger Talk Podcast

คำเตือน:

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299