ชวนมาดาวน์โหลด Kept
รับดอกเบี้ยสูงสุด 2% ต่อปี* ถอนได้ ไม่มีเงื่อนไข!
Highlight (เลือกหัวข้อที่สนใจได้เลย)
ช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ทองคำ Bitcoin และดอลลาร์
ได้กลายเป็นสินทรัพย์ที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจ ด้วยลักษณะเฉพาะตัวที่สามารถตอบโจทย์การลงทุนในแต่ละสภาวะตลาดที่แตกต่างกัน
ทองคำ
ถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนหรือมีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
Bitcoin
ได้รับความนิยมมากขึ้นในฐานะสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีศักยภาพในการเติบโต แต่ก็แลกมาด้วยความผันผวนที่สูงมาก
ดอลลาร์
ก็ยังคงเป็นสกุลเงินหลักที่ใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ และเป็นสกุลเงินสำรองโลก
คำถามที่น่าสนใจก็คือ
สินทรัพย์ใดจะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุดในปี 2025 นี้?
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/12/2024
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีค่าเงินดอลลาร์ (เส้นสีดำ) และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี (เส้นสีฟ้า) แสดงให้เห็นถึงการอ่อนค่าของดอลลาร์ในช่วง
Trump 1.0
(ปี 2017 เป็นต้นไป) ขณะที่ Bond Yield ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งสวนทางกับทฤษฎีปกติที่คาดว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นเมื่อ Yield เพิ่มขึ้น
ในกรณีของ
Trump 2.0
แนวโน้มนี้อาจกลับกัน โดยดอลลาร์อาจอ่อนค่าลงพร้อมกับการลดลงของ Bond Yield ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินและการคลัง รวมถึงการขาดดุลงบประมาณที่อาจกระทบทั้ง Bond Yield และค่าเงินดอลลาร์
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/12/2024
ในช่วง
Trump 1.0
หลังปี 2017 สัดส่วนการถือครองเงินดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินสำรองระหว่างประเทศลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากระดับประมาณ
65% เหลือเพียง 58%
ขณะเดียวกันสกุลเงินหลักอื่น ๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น ยูโรที่ปรับตัวขึ้นจาก 19% เป็น 20% เยนที่เติบโตอย่างชัดเจน และปอนด์ที่มีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน
การเปลี่ยนแปลงนี้อาจมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น นโยบาย
"America First"
ของอดีตประธานาธิบดี Trump ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในดอลลาร์ การกระจายความเสี่ยงของธนาคารกลางทั่วโลก และความไม่แน่นอนที่เกิดจากสงครามการค้าและสถานการณ์การเมืองในสหรัฐฯ
ผลกระทบในระยะยาวสะท้อนถึงแนวโน้มที่ดอลลาร์ถูกลดบทบาทในฐานะสกุลเงินสำรองอย่างต่อเนื่อง โครงสร้างระบบการเงินโลกเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยมีการกระจายตัวของสกุลเงินสำรองระหว่างประเทศมากขึ้น และลดการพึ่งพาดอลลาร์
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/12/2024
ในช่วงก่อนปี 2008 ปริมาณทองคำสำรองทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดจาก 1,150 ล้านออนซ์ในปี 1991 มาอยู่ที่ประมาณ 950 ล้านออนซ์ในปี 2008 ขณะเดียวกัน ราคาทองคำในช่วงดังกล่าวค่อนข้างทรงตัวในกรอบ 200 - 400 ดอลลาร์ต่อออนซ์
จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นหลังนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในปี 2008 ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มสะสมทองคำสำรองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณทองคำสำรองปรับตัวจากระดับ 950 ล้านออนซ์ จนทะลุระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่ 1,150 ล้านออนซ์ และปัจจุบันยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนแตะประมาณ 1,170 ล้านออนซ์
ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนแนวโน้มนี้ ได้แก่ นโยบาย QE ที่กระตุ้นให้ธนาคารกลางกระจายความเสี่ยงจากสกุลเงินหลัก ความไม่แน่นอนในระบบการเงินโลก และราคาทองคำที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากระดับ 400 ดอลลาร์เป็นมากกว่า 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในสินทรัพย์ปลอดภัย
พฤติกรรมการถือครองทองคำของธนาคารกลางทั่วโลกหลังวิกฤตปี 2008 ชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ส่งผลให้ปัจจุบันปริมาณทองคำสำรองแตะระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ และแนวโน้มนี้ยังคงดำเนินต่อไปอย่างมั่นคง
Source: Finnomena Funds, World Gold Council as of 16/12/2024
จากข้อมูลการซื้อขายทองคำในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา กลุ่มประเทศที่มีการซื้อทองคำมากที่สุดคือจีนและรัสเซีย ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทสำคัญของทั้งสองประเทศในตลาดทองคำ ในทางกลับกันกลุ่มประเทศที่ขายทองคำมีแนวโน้มลดลง บ่งชี้ถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของทองคำในฐานะสินทรัพย์สำรอง โดยเวเนซุเอลาเป็นผู้ขายรายใหญ่ที่สุดในช่วง 2015 - 2017
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 16/12/2024
ความสัมพันธ์ระหว่างการถือครองทองคำใน ETF และ Real Yield ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มสำคัญในตลาดทองคำ โดยเมื่อ Real Yield ลดลง การถือครองทองคำใน ETF จะเพิ่มขึ้น
และในทางกลับกัน ช่วงปี 2020 การถือครองทองคำใน ETF พุ่งสูงสุดเมื่อ Real Yield ลดลงอย่างมาก ขณะที่ปี 2022-2024 การถือครองทองคำลดลงเมื่อ Real Yield เพิ่มขึ้น
ในอนาคต หาก Real Yield ยังอยู่ในระดับสูง การขายทองคำจาก ETF อาจชะลอตัวลง และอาจช่วยสนับสนุนการทรงตัวหรือฟื้นตัวของการลงทุนในทองคำผ่าน ETF ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่มีผลต่อพฤติกรรมการลงทุนในทองคำ
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 12/12/2024
ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2024 มีการไหลเข้าของเงินทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยรวมยังคงเป็นบวก แม้ว่าจะมีบางช่วงที่เป็นลบ แต่ Flow โดยรวมมีขนาดใหญ่และต่อเนื่องกว่าช่วงก่อนหน้า
หลังเริ่มเปิดซื้อขายในช่วงครึ่งหลังของปี 2024 Ethereum ETF เริ่มเห็นการไหลเข้าที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงท้ายปี โดยการไหลเข้าเริ่มมีความต่อเนื่องมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงแรกที่เพิ่งเปิดตัว
ทั้ง Bitcoin และ Ethereum Spot ETF แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการไหลเข้าที่แข็งแกร่งขึ้นในช่วงปลายปี ซึ่งสะท้อนถึงความสนใจของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้นต่อเครื่องมือการลงทุนที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย อีกทั้งยังอาจเป็นสัญญาณของการยอมรับคริปโตเคอร์เรนซีในวงกว้างมากขึ้นในตลาดการเงินโลก
Source: Finnomena Funds, Glassnode as of 12/12/2024
ในปี 2024 Hash Rate ของ Bitcoin อยู่ที่ 804*10¹⁸ hash/sec ซึ่งคิดเป็น 37% ของ Total Hash ที่เคยเกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์ของ Bitcoin การเติบโตนี้สะท้อนถึงกิจกรรมการขุดที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเห็นได้จากแท่งสีส้มที่มีความถี่และความสูงเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของ Hash Rate มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวขึ้นของราคา Bitcoin แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักขุดและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานการขุดที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
รัฐบาล Trump มีแนวโน้มที่จะสนับสนุนสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น ผ่านนโยบายที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งจะเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อการเติบโตของสินทรัพย์ดิจิทัลในสหรัฐอเมริกา ตัวอย่างเช่น
หลาย ๆ นักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุนได้ตั้งราคาเป้าหมายของ Bitcoin ไว้ต่างกันไปตามปัจจัยที่พิจารณา ดังนี้
ให้ราคาเป้าหมาย Bitcoin ในสิ้นปี 2025 ที่
200,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 6.8 ล้านล้านบาท)
โดยอ้างอิงแรงหนุนหลักจากการที่ Trump ชนะการเลือกตั้ง, การเลือกประธาน SEC คนใหม่ที่น่าจะทำให้การใช้งานคริปโตเคอร์เรนซีหลากหลายขึ้น, และความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Bitcoin Strategic Reserve
ให้ราคาเป้าหมาย Bitcoin ในสิ้นปี 2030 โดยแยกเป็น
Bull Case (1.48 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 51 ล้านบาท)
,
Base Case (682,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 23.5 ล้านบาท)
และ
Bear Case (258,500 ดอลลาร์ หรือประมาณ 8.9 ล้านบาท)
โดยเชื่อว่ารัฐบาล Trump จะช่วยให้การใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัลกว้างขวางขึ้น
ให้ราคาเป้าหมาย Bitcoin ในสิ้นปี 2025 ไว้ที่
180,000 ดอลลาร์ (หรือประมาณ 6.2 ล้านบาท)
โดยพิจารณาจากยอดค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin และยอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องที่เพิ่มสูงขึ้น
ให้ราคาเป้าหมาย Bitcoin ในสิ้นปี 2025 ที่
250,000 ดอลลาร์ (หรือประมาณ 8.6 ล้านบาท)
โดยให้เหตุผลว่ารัฐบาล Trump น่าจะมีความเป็นมิตรกับสินทรัพย์ดิจิทัล มากกว่ารัฐบาลไบเดน และมีความเป็นไปได้ที่จะมี Bitcoin Strategic Reserve เกิดขึ้น
ดอลลาร์มีแนวโน้มเข้าสู่รอบขาลงอีกครั้ง คล้ายกับช่วง Trump 1.0 และในระยะยาวบทบาทของดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินสำรองหลักอาจลดลง จากการกระจายตัวของสกุลเงินสำรองทั่วโลก
ดังนั้น เราจึงมีมุมมอง
Slightly Negative
ทองคำยังคงได้รับแรงหนุนจากการซื้อสะสมของธนาคารกลางทั่วโลก ขณะที่แรงซื้อทองคำผ่าน Gold ETF มีแนวโน้มทรงตัว เนื่องจาก Real Yield ที่อยู่ในระดับสูง
อย่างไรก็ตาม ทองคำอาจได้รับประโยชน์จากดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงและความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) แม้ว่าราคาทองคำที่อยู่ในระดับสูง
เราจึงมีมุมมอง
Slightly Positive
โดยเฉพาะการถือทองคำในสกุลเงิน USD เป็น Hedge เช่นกองทุน SCBGOLDH
ทั้ง Bitcoin และ Ethereum ETF แสดงแนวโน้มการไหลเข้าที่แข็งแกร่งในช่วงปลายปี 2024 สะท้อนถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุนในเครื่องมือการลงทุนที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย
นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของ Hash Rate และการสนับสนุนจากรัฐบาล Trump ช่วยเสริมความเชื่อมั่นในสินทรัพย์ดิจิทัล ทำให้มีการคาดการณ์ราคาของ Bitcoin ที่สูงขึ้นในอนาคต โดยมีเป้าหมายในปี 2025 อยู่ระหว่าง 180,000-250,000 ดอลลาร์
เราจึงมีมุมมอง
Positive
กับ Bitcoin
สำหรับผู้ที่สนใจสินทรัพย์ดิจิทัล สามารถลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ลงทุนใน Blockchain ETF ซึ่งมีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางใกล้เคียงกับ Bitcoin
โดยกองทุนแนะนำ ได้แก่ KT-BLOCKCHAIN-A และ ASP-DIGIBLOC
คำเตือน:
กองทุนนี้มีการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทสินทรัพย์ดิจิทัล ที่มีความผันผวนของราคาสูง โดยอาจปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นหรือลดลงจนต่ำกว่ามูลค่าที่ลงทุนเริ่มต้น และอาจทำให้ขาดทุนได้ | ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299