ชวนมาดาวน์โหลด Kept
รับดอกเบี้ยสูงสุด 2% ต่อปี* ถอนได้ ไม่มีเงื่อนไข!
Elon Musk
เป็นที่รู้จักในฐานะบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้เขาต้องเผชิญกับความล้มเหลว ความท้าทาย และอุปสรรคมากมาย ในบทความนี้เราจะมาดูอีกด้านของความสำเร็จที่ Elon Musk ต้องเผชิญก่อนจะก้าวขึ้นมาเป็นบุคคลที่ร่ำรวยกว่า
13.5 ล้านล้านบาทคนแรกของโลก
Zip2 เป็นธุรกิจแรกของ Musk ที่ร่วมก่อตั้งกับ Kimbal น้องชายของเขา ในปี 1995 เพื่อสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ให้สื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์
อย่างไรก็ตาม Zip2 เผชิญกับความท้าทายมากมาย เทคโนโลยีของบริษัทมักไม่น่าเชื่อถือ มีปัญหาเซิร์ฟเวอร์ล่มบ่อยครั้ง และความไม่แม่นยำของระบบแผนที่สร้างความหงุดหงิดให้กับผู้ใช้งานและลูกค้า
นอกจากนี้ สไตล์การบริหารของ Musk ยังถูกอธิบายว่า
“เข้มงวด”
โดยอดีตพนักงานบางคนเล่าว่า Musk มักแสดงความโกรธออกมาเมื่อพนักงานไม่ได้ทำงานจนดึกดื่น และคาดหวังให้ทีมทำงานอย่างหนักหน่วง
แม้ Zip2 จะขายได้ราคา 307 ล้านดอลลาร์ แต่ Musk ก็ต้องถูกปลดจากตำแหน่ง CEO เพราะแนวทางการบริหารที่ไม่ถูกใจผู้ร่วมงาน
Falcon 1 ระเบิดจากการปล่อยจรวด | Source: The Washington Post
SpaceX เคยล้มเหลวถึง 3 ครั้งในการปล่อยจรวด
Falcon 1
ระหว่างปี 2006 - 2008 ส่งผลให้บริษัทแทบไม่มีเงินทุนเหลือ
แต่ในปี 2008 SpaceX ประสบความสำเร็จกับการปล่อย Falcon 1 ครั้งที่ 4 และได้รับสัญญาจาก NASA มูลค่า 1,600 ล้านดอลลาร์ ซึ่งช่วยให้บริษัทรอดพ้นจากภาวะล้มละลาย
Tesla เคยอยู่ในภาวะวิกฤตการเงินในปี 2008 เมื่อบริษัทรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่เป็นที่ยอมรับ Musk ต้องใช้เงินส่วนตัวจากการขายหุ้น PayPal เพื่อช่วย Tesla จนเกือบหมดตัว
Musk ยังเคยกล่าวถึงปัญหาท้าทายในการผลิต Tesla Model 3 ว่าเป็นช่วงเวลา
"นรกแห่งการผลิต"
(Production Hell) ซึ่งสะท้อนถึงความยากลำบากที่ Tesla เผชิญในการเร่งการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับ Mass Market ในช่วงเริ่มต้น
Musk อธิบายว่าช่วงเวลานั้นเต็มไปด้วยความเครียดและเปรียบเสมือน
"ตกนรก"
พร้อมทั้งยอมรับว่าเขามักนอนที่โรงงานของ Tesla เพื่อช่วยแก้ปัญหาโดยตรง
SolarCity เป็นบริษัทพลังงานแสงอาทิตย์ที่ก่อตั้งโดยลูกพี่ลูกน้องของ Elon Musk ถูก Tesla เข้าซื้อกิจการในปี 2016 ด้วยมูลค่า 2,600 ล้านดอลลาร์ผ่านการแลกเปลี่ยนหุ้น
แต่การซื้อกิจการนี้เกิดข้อถกเถียงมากมาย โดยเฉพาะเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนและสถานะทางการเงินของ SolarCity ในขณะนั้นที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก
ผู้ถือหุ้น Tesla หลายรายมองว่าการเข้าซื้อครั้งนี้เป็นการช่วยเหลือทางการเงิน (Bailout) สำหรับบริษัทที่กำลังจะล้มละลาย ทำให้ Tesla ต้องแบกรับหนี้สินของ SolarCity ที่สูงถึงหลายพันล้านดอลลาร์
Cybertruck หลังกระจกแตกในงานเปิดตัว | Source: CNN
ในงานเปิดตัว Cybertruck ของ Tesla ในปี 2019 Elon Musk และทีมงานได้พยายามแสดงความแข็งแกร่งของกระจก
"กันกระสุน"
ที่ออกแบบมาให้ทนต่อแรงกระแทกสูง
แต่เรื่องเซอรไพรส์ก็เกิดขึ่นเมื่อหัวหน้าทีมออกแบบของ Tesla ขว้างลูกเหล็กไปที่กระจกด้านข้างคนขับ
กระจกกลับแตกทันที
เหตุการณ์นี้สร้างความตกใจและเสียงหัวเราะในงาน และกลายเป็นไวรัลบนโลกออนไลน์ในทันที
Musk อธิบายภายหลังว่า ความเสียหายของกระจกอาจเกิดจากการทดสอบทุบประตูรถด้วยค้อนก่อนหน้า ซึ่งทำให้กรอบกระจกได้รับแรงกระแทกและส่งผลต่อความแข็งแรงของกระจก
ราคาหุ้น Twitter (X ในปัจจุบัน) ช่วงก่อนและหลัง Elon Musk เข้าซื้อกิจการ | Source: Fortune
การเข้าซื้อ Twitter (X ในปัจจุบัน) ของ Elon Musk ในปี 2022 ถือเป็นหนึ่งในการตัดสินใจที่น่ากังขาที่สุด โดยเขาทุ่มเงินไปถึง 44,000 ล้านดอลลาร์เพื่อซื้อกิจการนี้ โดยตั้งเป้าเสริมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและลดการควบคุมเนื้อหา
อย่างไรก็ตาม
หลังจากการเข้าซื้อกิจการ มูลค่าของ X ลดลงกว่า 75%
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ทำให้ผู้ใช้งานเก่าบางส่วนเลิกใช้ และผู้ลงโฆษณาหลายรายถอนตัวออกไป
แม้ว่ามูลค่าจะลดลงอย่างมหาศาล แต่ Musk ยังคงมุ่งมั่นพัฒนารูปแบบการหารายได้ใหม่ เช่น ระบบสมัครสมาชิก และการสนับสนุนคอนเทนต์
OpenAI ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2015 โดย Elon Musk และ Sam Altman โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี AI อย่างปลอดภัยและเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ
อย่างไรก็ตาม ในปี 2018 Musk ตัดสินใจลาออกจากการเป็นคณะกรรมการบริหาร เนื่องจากความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และการดำเนินงานขององค์กร โดย Musk มีความกังวลเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาที่อาจขัดแย้งกับจุดประสงค์เดิมของ OpenAI
4 ต่อมาหลัง Elon Musk ลาออก OpenAI ได้เปิดตัว
ChatGPT
ซึ่งเป็นโมเดล AI ที่มีความสามารถด้านภาษาในระดับสูง ได้รับการฝึกฝนด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาลเพื่อให้สามารถตอบคำถาม สร้างบทสนทนา และเขียนเนื้อหาที่หลากหลายตามคำสั่งที่ได้รับ
หลังการเปิดตัว ChatGPT กลายเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้งานและองค์กรทั่วโลก จนกลายเป็นผู้นำในวงการ AI และ
ความสำเร็จของ ChatGPT ยังเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการแข่งขันในวงการ AI โดยบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ เช่น
Gemini ของ Google
และ
LLaMA ของ Meta
ทำให้วงการ AI เติบโตอย่างก้าวกระโดดในด้านนวัตกรรมและความสามารถ
ท้ายที่สุดการที่ Musk ยังคงยืนหยัดต่อสู้และพัฒนาต่อไปหลังจากล้มเหลว ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการไม่ยอมแพ้ การเรียนรู้จากความผิดพลาด และความกล้าที่จะเสี่ยง การเรียนรู้จากความล้มเหลวจึงไม่ใช่เพียงแค่การยอมรับข้อผิดพลาด แต่คือการนำบทเรียนเหล่านั้นไปใช้สร้างความสำเร็จในอนาคต
อ้างอิง:Webopedia, Mount Bonnell