Kept by krungsri
GET - On the App Store
11510 views
23 November 2023

หลายคนที่มี Netflix อาจจะเคยผ่านหูผ่านตาสารคดีไซส์มินิที่ชื่อ Money, Explained ซึ่งมีทั้งหมด 5 ตอน ในบทความนี้เราจะขอมาสรุปเนื้อหาใจความสำคัญสำหรับคนที่ยังไม่สะดวกรับชม ไปดูกันเลยว่ามีหัวข้อไหนน่าสนใจบ้าง

สรุปบทเรียนการเงินจาก Money, Explained: สารคดีไซส์มินิจาก Netflix

 

EP1: Get Rich Quick: กลลวงรวยเร็ว

 

 

เชื่อว่าใคร ๆ ก็ต้องเคยเห็นโฆษณาพาดหัวทำนองว่า

“อยากเป็นเศรษฐี ฟังทางนี้!” “ค้นพบวิธีสร้างเงินล้าน แบบไม่ต้องทำงาน!”

ปฏิเสธไม่ได้ว่าล้วนเป็นคำพูดที่ชวนให้ตาลุกวาว สร้างความหวังที่สวยหรูให้กับใครหลาย ๆ คน

 

 

ทว่าน่าเสียดายที่คำกล่าวเกินจริงเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นเพียง Scam หรือเรื่องหลอกลวงทั้งนั้น

 

 

เรื่องหลอกลวงด้านการเงินนี่จะว่าไปแล้วก็เป็นอะไรที่แปลก ไม่เหมือนกับสิ่งอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ที่พอคนเราทำพลาดก็มักจะมีการเรียนรู้เพื่อไม่ให้เกิดซ้ำอีก แต่พอเป็นการหลอกเรื่องเงินนี่ เหมือนมนุษย์จะไม่เข็ดหลาบ เพราะโดนหลอกในอดีตอย่างไรตอนนี้ก็ยังโดนหลอกกันอยู่

 

 

การหลอกลวงขายฝันแบบนี้มีมานานตั้งแต่ก่อนยุคอินเตอร์เน็ตแล้วด้วยซ้ำ ในอดีตนั้นเคยมีการหลอกลวงเรื่องเงินที่ฉาว ๆ เป็นที่จดจำกันมาก ตัวอย่างเช่น

 

 

  1. ในปี 1821 นายพล Gregor McGregor จากสก๊อตแลนด์ สร้างประเทศปลอมที่ชื่อว่า Poyais ขึ้นมา อ้างว่าเป็นดินแดนแห่งความรุ่งเรือง หลอกเงินคนที่หวังจะไปใช้ชีวิตที่นั่นได้กว่า 20 ล้านดอลล่าร์
  2. ในช่วงปี 1920 ผู้อพยพชาวอิตาเลียน Charles Ponzi ได้ทำการขายฝันที่ว่า จะทำให้เงินของคุณเติบโต 2 เท่า ภายใน 90 วัน แต่แท้จริงแล้วสิ่งที่ Ponzi ทำคือยืมเงินคนใหม่มาคืนคนเก่าไปเรื่อย ๆ เมื่อคนต้องการเงินพร้อมกัน ก็มีเงินให้ไม่ทัน ระบบก็พัง
  3. ในปี 2008 การโกงแบบ Ponzi เกิดขึ้นอีกครั้ง โดย Bernie Madoff ที่สามารถหลอกเงินมาได้หลายพันล้านดอลล่าร์ คนเชื่อเขาเยอะมากเพราะเขาเป็นเหมือนตัวแทนของชาวยิว
  4. ในปี 2016 Dr.Ruja Ignatova เชิญชวนให้คนถือเหรียญ OneCoin ซึ่งเคลมว่าจะมาแทนที่ Bitcoin เรียกเงินคนได้กว่า 4 พันล้านดอลล่าร์ แต่สุดท้ายแล้วเหรียญนี้ก็แลกกลับเป็นเงินตามที่หลายคนวาดฝันไว้ไม่ได้ ด็อกเตอร์ตัวต้นเรื่องก็หายวับไปในอากาศ

 

 

ตัวอย่าง Scam ด้านการเงินที่มักถูกใช้บ่อย ๆ

 

 

  1. Advance Fee: จ่ายเงินก้อนนึงก่อน เพื่อให้ได้รับเงินอีกก้อนในอนาคต (ซึ่งไม่เคยจะมาถึง) เช่น มีเศรษฐีกำลังเดือดร้อน ขอให้โอนตังค์มาให้ก่อน แล้วเดี๋ยวจะตอบแทนอย่างสาสม
  2. Pump & Dump: ปั่นราคาสินทรัพย์ให้ขึ้นไปสูง ๆ ถึงจุดหนึ่งก็เทขายออกมา พักหลังเกิดขึ้นบ่อยในวงการ Cryptocurrency
  3. Ponzi: ชื่อตามนักต้มตุ๋ม Charles Ponzi เป็นการนำเงินที่ได้จากคนใหม่ไปจ่ายคนเก่า วนไปเรื่อย ๆ ไม่ได้นำเงินนั้นไปลงทุนจริงจัง
  4. Pyramid: หน้าตาจะคล้าย ๆ การตลาดเครือข่าย แต่ต่างกันตรงที่ Pyramid ขายของไร้ประโยชน์ ได้เงินจากคนในเครือข่ายกันเอง
  5. Coaching: จ่ายเงินก้อนหนึ่งแลกกับความรู้ที่จะช่วยให้เราได้เงินเพิ่ม (ซึ่งสุดท้ายแล้วใช้ไม่ได้ผลจริง แต่คนขายขายเก่ง)

 

 

เทคนิคที่ถูกใช้ใน Scam เพื่อให้คนเชื่อ

 

 

  1. ใช้เรื่องเล่าที่น่าสนใจ เช่น จากตอนแรกจนกลายเป็นรวยได้
  2. ใช้คำเยินยอจากลูกค้าคนอื่น ว่า ใช้วิธีนี้แล้วได้เงินเท่านี้ ๆ แน่ะ
  3. ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าต้องรีบแล้ว เช่น คอร์สนี้เปิดรับแค่ 10 คนเท่านั้น
  4. ใช้ประโยชน์จากช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน เช่น ช่วงที่ซื้ออะไรก็ราคาขึ้น ช่วงที่แต่ละประเทศมีการเปลี่ยนแปลง คนจะไม่ค่อยสงสัยอะไร
  5. ย้ำว่า “นี่ไม่ใช่เรื่องหลอกลวง”

 

 

แล้วพอมีอินเตอร์เน็ต ก็ยิ่งทำให้ Scam พวกนี้เข้าถึงคนได้ง่ายยิ่งขึ้นไปอีก เพราะการที่คนจะใช้อินเตอร์เน็ตอำนวยความสะดวกให้ตัวเองได้นั้น ก็จะต้องเชื่อใจคนอีกฟากฝั่ง คิดภาพเราซื้อของออนไลน์ ถ้าเราไม่เชื่อใจแม่ค้า เราก็คงไม่กล้าซื้อ และคงเลือกจ่ายตลาดแบบเดิม โดย Scammer ก็ได้ประโยชน์จากความเชื่อใจนี้แหละ นอกจากนี้ การหลอกลวงยังทำได้ง่ายขึ้นด้วย ใคร ๆ ก็โพสอะไรลงอินเตอร์เน็ตได้ทั้งนั้น

 

 

เหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้เรามักจะหลงเชื่อคำลวงที่เล่นกับความโลภเหล่านี้ก็เพราะในเชิงสังคมศาสตร์นั้น มนุษย์มีความเชื่อใจกัน ความเชื่อใจทำให้สังคมทุกวันนี้แข็งแกร่งและเดินหน้าต่อไปได้ (คิดภาพว่าถ้าคนไม่เชื่อใจกัน ก็คงไม่สามารถสร้างอะไรเจ๋ง ๆ ที่เปลี่ยนโลกได้) ทว่าความเชื่อใจนั้นก็เป็นดาบสองคม ทำให้หลงเชื่อคำลวงได้ง่ายเช่นกัน

 

 

ระวังอะไรก็ตามที่ง่ายเกินไป ยิ่งง่ายจนผิดสังเกตเท่าไรให้ยิ่งระวัง

 

สรุปบทเรียนการเงินจาก Money, Explained: สารคดีไซส์มินิจาก Netflix

 

EP2: Credit Cards เงินไวที่แฝงอันตราย

 

 

ในอดีตนั้น ถ้าอยากซื้อของชิ้นใหญ่ ๆ ก็ต้องไปธนาคารเพื่อกู้เงิน ธนาคารก็จะดูคร่าว ๆ ว่าเรามีความสามารถในการชำระเงินกู้มั้ย มีเงินเก็บเพียงพอมั้ย และมีความน่าเชื่อถือรึเปล่า วัดกันแบบตาเปล่า จากคำบอกเล่าของคนนี่ละ

 

 

แต่พอมีคอมพิวเตอร์เข้ามา ก็มีการใช้ Credit Scoring เข้ามาช่วยคำนวณความเสี่ยงของคนคนหนึ่ง และเมื่อบัตรเครดิตถือกำเนิดขึ้นมา สิ่งนี้ก็เป็นอีกส่วนที่มาเสริม Credit Score ของเรา

 

 

เราต่างก็รู้กันว่าบัตรเครดิตช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้นมาก ไม่ต้องพกเงินสดก็จ่ายตังค์ได้ เวลาจะซื้อของราคาแพง ๆ ก็ไม่ต้องหอบเงินสดไป อีกทั้งบัตรเครดิตยังให้สิทธิพิเศษต่าง ๆ มากมาย

 

 

แต่ภายใต้ความสวยงามเหล่านี้ หากเราไม่รู้จักบริหารการใช้บัตรเครดิตให้ดี เราอาจจะตกเป็นทาสของมันได้

 

 

คนอเมริกันประมาณ 4/10 มีหนี้บัตรเครดิต และ 1/10 คาดว่าจะตายก่อนใช้หนี้หมด!

 

 

คนใช้บัตรเครดิต มีประเภทไหนบ้าง

 

 

  1. คนที่จ่ายเต็มจำนวน: กลุ่มนี้มักไม่มีปัญหา บริษัทบัตรเครดิตจะได้เงินจากกลุ่มนี้ผ่านค่าธรรมเนียมการรูดการ์ด
  2. คนที่จ่ายไม่เต็มจำนวน: กลุ่มนี้แหละที่มักจะเจอปัญหาการเงิน เพราะหนี้ที่จ่ายไม่ครบจำนวนก็จะทบดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆ จนเป็นหนี้ก้อนใหญ่ บริษัทบัตรเครดิตทำเงินได้จากกลุ่มนี้เป็นหลัก
  3. คนที่แฮ็กวิธีใช้บัตรเครดิตได้อย่างคุ้มค่า: กลุ่มนี้จะเป็นพวกสะสมบัตรหลาย ๆ เจ้า และใช้สิทธิพิเศษของแต่ละเจ้าอย่างคุ้ม น่าจะเป็นกลุ่มที่บริษัทบัตรเครดิตแขยงที่สุด

 

 

เหตุผลที่คนบางคนเจอปัญหาหนี้บัตรเครดิต

 

 

  1. โดน Present Bias เล่นงาน คือเห็นว่าผลประโยชน์ในวันนี้ดึงดูดใจกว่า หนี้ที่ต้องจ่ายค่อยไว้ทีหลัง
  2. โดน Anchoring Effect คือพอเห็นว่าต้องจ่ายขั้นต่ำเท่าไร ก็จ่ายไม่ห่างจากมูลค่านั้นมาก (ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะไม่ได้มีเงินเก็บมาก)
  3. มองบัตรเครดิตเป็นเหมือนแหล่งที่พึ่งยามฉุกเฉิน ซึ่งพอเป็นในสภาวะที่ไม่มีเงินอยู่แล้ว การใช้บัตรเครดิตจะยิ่งตอกย้ำสถานะนั้นไปอีก
  4. งานวิจัยเจอว่ามนุษย์เราจะ “เจ็บปวดทางใจ” น้อยกว่า หากจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตแทนที่จะเป็นเงินสด

 

 

ทางที่ดีคือ เราควรเลือกบัตรที่เข้ากับตัวเรามากที่สุด และอย่าลืมตรวจเช็กสภาพคล่องและฐานะการเงินของตัวเองก่อน ต้องอย่าลืมว่าเงินจากบัตรเครดิตนั้นเป็นเงินกู้จากอนาคต ถ้าเราไม่มีเงินจ่ายตามเวลา เราก็จะต้องเสียดอกเบี้ยแสนแพง ยิ่งทำให้สภาวะติดหนี้นั้นยาวนานมากขึ้นไปอีก

 

สรุปบทเรียนการเงินจาก Money, Explained: สารคดีไซส์มินิจาก Netflix

 

EP3: Student Loans วิกฤตหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

 

 

ในสหรัฐฯ นั้น ก็มีโครงการให้นักศึกษากู้ยืมเงินเพื่อเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยเช่นกัน แรกเริ่มเดิมทีนั้นนโยบายนี้เกิดขึ้นเพื่อหวังสร้างบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น แต่ต่อมาก็ขยับขยายเป็นทุก ๆ สายวิชาชีพ และสำหรับทุกชนชั้น ด้วยสมมติฐานที่ว่า หากทุกคนได้รับการศึกษาที่ดี ก็จะช่วยให้สังคมดีขึ้น มีอาชญากรรมน้อยลง เจ็บป่วยน้อยลง พึ่งพาสวัสดิการรัฐน้อยลง

 

 

แน่นอนว่าผู้ที่ควรจะได้รับประโยชน์จากเงินกู้ยืมนี้ควรเป็นนักศึกษาที่มาจากครอบครัวรายได้น้อย ไม่สามารถส่งตัวเองได้

 

 

แม้ว่าพวกเขาจะได้รับการศึกษาก็จริง แต่หนี้ กยศ. หลังจบมหาวิทยาลัยนั้นก็เป็นเงินก้อนใหญ่ที่กลายเป็นภาระชีวิต ปัจจุบันมูลค่าหนี้ กยศ. ในสหรัฐฯ นั้นสูงกว่า 1.7 ล้านล้านดอลล่าร์เลยทีเดียว และมีมากกว่า 45 ล้านคนที่ได้รับใบแจ้งหนี้ทุกเดือน

 

 

หนี้ก้อนนี้ใหญ่ขนาดที่ว่ามูลค่าของมันสูงยิ่งกว่ามูลค่าเงินกู้ซื้อรถ กับหนี้บัตรเครดิตเสียอีก

 

 

นักศึกษาหลายคนจบมา ไม่ได้ทำงานที่มีรายได้สูงนัก จากการสำรวจพบว่า กลุ่มที่มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้สูง คือกลุ่มที่กู้เงินน้อย (เรียนในสาขาที่ค่าเทอมไม่แพง) เพราะสุดท้ายแล้วพวกเขาไม่ได้งานที่ให้เงินเยอะ ในขณะที่กลุ่มกู้เงินเยอะ (เรียนในสาขาที่ค่าเทอมแพงหน่อย) มักจะได้งานดี ๆ อย่างการเป็นแพทย์ ทนาย หรืออาจารย์

 

 

กลายเป็นว่าหลังเรียนจบ เมื่อไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด หนี้นั้นก็ทบดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆ และสุดท้ายก็ส่งผลกับ Credit Score รวมถึงสวัสดิการของรัฐที่อาจจะถูกริบ

 

 

ถามว่าแล้วถ้าเข้ามหา'ลัยต้องเป็นหนี้ขนาดนี้ สู้เรียนมัธยมจบแล้วออกมาทำงานไม่ดีกว่าเหรอ? แรกเริ่มก็เหมือนจะดีกว่าเพราะไม่มีหนี้แถมยังมีรายได้ แต่ในสังคมที่ยังนับหน้าถือตาคนมีใบปริญญา ระดับเงินเดือนของคนที่จบมหา'ลัยย่อมดีกว่า ยิ่งในสภาวะที่มีวิกฤติเศรษฐกิจด้วยแล้ว คนที่ไม่ได้จบมหา'ลัยนั้นยิ่งหางานดี ๆ ยากไปกันใหญ่

 

 

ในปัจจุบัน เริ่มมีการแก้ปัญหาหนี้โดยการนำเสนอทางออกใหม่ ๆ เช่น การเลือกแบ่งจ่ายหนี้ตามระดับเงินเดือนของตัวเอง มีน้อยจ่ายน้อย มีมากจ่ายมาก แต่ดูเหมือนว่าวิธีนี้จะไม่ได้ถูกรับรู้เป็นวงกว้างมากนัก กล่าวคืออาจจะมีแค่คนบางกลุ่มที่ทำการศึกษาข้อมูลตรงนี้มา ถึงจะสามารถใช้ประโยชน์จากวิธีนี้ได้

 

 

นอกจากนี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ก็ได้มีแผนที่จะให้การศึกษาระดับวิทยาลัยนั้น

"ฟรี"

ซึ่งคาดว่าจะสามารถคืนทุนได้จากการเรียกเก็บภาษีคนรวยมากขึ้น และจะมีการงดเว้นการเก็บหนี้บางส่วนอีกด้วย ก็ต้องมาดูกันว่าผลลัพธ์ของนโยบายนี้จะเป็นอย่างไร

 

สรุปบทเรียนการเงินจาก Money, Explained: สารคดีไซส์มินิจาก Netflix

 

EP4: Gambling ทำไมเราถึงเล่นการพนัน?

 

 

การพนันเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความเก่าแก่ แต่สามารถปรับตัวมาได้ทุกยุคสมัย จนถึงปัจจุบัน ที่การพนันแบบดั้งเดิมได้พัฒนาเข้าสู่โลกออนไลน์กลายเป็น

“คาสิโนโซเชียล”

ที่ใช้เงินดิจิตอลสร้างรายได้ สร้างธุรกิจให้เติบโตจากเงินของผู้แพ้ จนมีรายได้เป็นกอบเป็นกำมากกว่าคาสิโนแบบดั้งเดิมบนท้องถนน

 

 

ยิ่งการพนันเติบโตได้ดีเท่าไหร่ ยิ่งเป็นหลักฐานสะท้อนว่า การพนันเป็นเกมที่ผู้เล่นเสียเปรียบเจ้ามือ มีผู้แพ้ มากกว่าผู้ชนะ และถ้าเรารู้ว่าโอกาสในการแพ้มีสูง ทำไมเราถึงเล่นการพนัน?

 

 

การพนันกลายเป็นธุรกิจใหญ่ เมื่อเราค้นพบวิธีคำนวณความน่าจะเป็น คล้ายกับการทำประกัน ที่บริษัทประกันจะคำนวณแล้วว่า เงินที่ต้องจ่ายค่าสินไหม เมื่อคำนวณแล้ว จะมีจำนวนน้อยกว่าเงินที่ได้รับจากค่าเบี้ยประกันของทั้งระบบ

 

 

การพนันถูกออกแบบมาให้การชนะเล็ก ๆ น้อย ๆ ล่อใจให้ผู้เล่นติดกับ ใช้เวลาอยู่กับเกมให้นานพอเพื่อที่เมื่อรู้ตัวอีกที เงินที่อยู่ในกระเป๋าทั้งหมดได้อันตรธานหายไปโดยที่ผู้เล่นไม่รู้ตัว

 

 

มีตรรกะวิบัติมากมาย ที่ทำให้นักพนันหมดตัว เช่น

 

 

Gambler's fallacy หรือตรรกะวิบัติของนักพนัน ที่เมื่อเล่นเสียในครั้งแรก ๆ จะไม่ยอมเลิก และจะเล่นต่อไปเรื่อย ๆ เพราะเชื่อว่าจะชนะในท้ายที่สุด ซึ่งความเป็นจริงเงินอาจจะหมดก่อนที่จะถึงตาที่ชนะ

 

 

หรือ Illusion of control ที่นักพนันจะคิดว่าตัวเองสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เช่น โยนลูกเต๋าเบา ๆ จะทำให้มีโอกาสออกเลขต่ำมากกว่าเลขสูง ซึ่งไม่เป็นความจริง

 

 

ความคิดแบบนี้ ทำให้เรารู้สึกว่าการเล่นการพนันสนุก

 

 

ตัวอย่างนวัตกรรมที่น่าทึ่งของการพนันคือ

“เครื่องสล็อตแมชชีน”

ที่สร้างรายได้สวนใหญ่ให้กับคาสิโน โดยเจ้าของบ่อนจะตั้งค่าให้คาสิโนได้เปรียบ และพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ดึงดูดผู้เล่น ไม่ว่าจะเป็นการเอาเก้าอี้มาวางเพื่อให้การเล่นสะดวกสบายนั่งได้นานขึ้น เปลี่ยนจากคันโยกเป็นปุ่มกด เพื่อไม่ต้องออกแรงมาก ตั้งหน้าจอให้ตื่นตาตื่นใจ หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนกฎเพื่อให้คนใส่เงินพนันมากขึ้น ทั้งตั้งรางวัลจากแนวตั้ง แนวนอน แนวทแยง หรือรูปแบบแปลก ๆ หลอกล่อให้คนได้รางวัลเล็กน้อย สร้างความคาดหวังเพื่อให้อยู่กับเครื่องนานขึ้น เล่นต่อไปเรื่อยจนกระทั่งหมดตัวในที่สุด

 

 

การพนันสร้างความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ สร้างความคาดหวัง มีการออกแบบอย่างเป็นระบบเพื่อให้ผู้เล่นเกิดอาการเสพติด ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจทำให้ชีวิตหลายคนพังทลายได้ในที่สุด

 

 

แต่ไม่ใช่ว่าการพนันทุกประเภทจะเหมือนกันทั้งหมด การพนันบางประเภทอย่างแบล็คแจ็ค หรือโปกเกอร์ อาจต้องใช้มากกว่าดวง แม้ดวงในการหยิบไพ่จะเป็นสิ่งสำคัญ แต่เนื่องจากผู้เล่นต้องใช้ทักษะมากกว่าดวง หากเล่นไปนาน ๆ ผู้เล่นที่เก่งที่สุดมีโอกาสชนะสูง ผู้เล่นมืออาชีพจะมีทักษะในการนับไพ่ เป็นการเก็บข้อมูล คำนวณเพื่อตัดสินใจ และจัดการอารมณ์ไม่ให้กระทบระบบการเล่น แต่การทำแบบนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเราเป็นมนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักร หากเกมการพนันลากยาวออกไป โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดยิ่งมีสูง

 

 

Semyon Dukach ผู้บริหารกองทุน One Way Ventures บอกว่าการลงทุนจะกลายเป็นการพนัน หากนักลงทุนซื้อขายรายวัน หรือเก็งกำไรระยะสั้น การซื้อขายรายวันคือการเสี่ยงโชค แต่หากปล่อยให้เงินอยู่ในตลาดนานขึ้น ในระยะยาวตลาดมีมูลค่าสูงขึ้นเสมอ

 

 

ในยุคโควิด การอยู่บ้านเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพนันออนไลน์เติบโตขึ้นเร็วมาก ผู้พัฒนาได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อดึงดูดคนใหม่ ๆ เข้าสู่โลกการพนันออนไลน์มากยิ่งขึ้น มีวิธีใหม่ เกมใหม่ ออกแบบหน้าตาให้การพนันดูน่าสนใจ

 

 

หลายคนเล่นการพนัน เพราะเชื่อว่าชีวิตคือการพนัน อนาคตมีความไม่แน่นอน สิ่งที่เราต้องรู้คือ ความรู้สึกอยากเอาชนะได้ฝังรากลึกในสมองของเรามาอย่างยาวนาน แม้สมองจะมีวิวัฒนาการให้สามารถจดจำรูปแบบและเงื่อนไขบางอย่างเพื่อเอาตัวรอดในบางสถานการณ์ เช่น ถ้าเราอยู่ในป่าและมีใบไม้ไหว เราอาจคิดว่ามีเสือและตัดสินใจหลบหนีเพื่อรักษาชีวิต

 

 

แต่ทักษะนี้อาจไม่มีประโยชน์นักหากนำมาใช้กับการพนัน เพราะในที่สุดแล้ว การหาเหตุผลในสิ่งที่ไม่มีเหตุผล การหาความเชื่อมโยงในสิ่งที่ไม่มีรูปแบบชัดเจน เปรียบเสมือนเกมที่ถูกออกแบบให้ผู้เล่นเป็นฝ่ายเสียเปรียบตั้งแต่แรก แม้ผู้เล่นจะชนะในตอนเริ่มต้น แต่ในระยะยาวโอกาสแพ้จะเพิ่มขึ้น จนหมดตัวในที่สุด

 

สรุปบทเรียนการเงินจาก Money, Explained: สารคดีไซส์มินิจาก Netflix

 

EP5: Retirement วางแผนเกษียณเพื่ออนาคต

 

 

การทดลองทางจิตวิทยาเรื่อง

“ตัวตนของเราในอนาคต”

จาก UCLA's Anderson School of Management ที่นำกลุ่มตัวอย่างเข้าเครื่องสแกนสมอง และถามคำถามถึงตัวเองในปัจจุบัน ถามถึงคนแปลกหน้า และถามถึงตัวเองในอนาคตอีกสิบปีข้างหน้า

 

 

พบว่า เมื่อถูกตั้งคำถามถึงตัวเองในปัจจุบัน สมองของผู้ตอบคำถามจะเริ่มตื่นตัว และเมื่อถามถึงคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จักในอนาคต การทำงานของสมองจะลดลงเป็นอย่างมาก ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงตัวเองในอนาคตอีกสิบปีข้างหน้า การทำงานของสมองผู้ถูกทดลอง มีระดับการทำงานเท่ากับเมื่อถามถึงคนแปลหน้าในอนาคต

 

 

นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า คนเราจะไม่เข้าใจตัวตนของตัวเองในอนาคต และตัวเราในอนาคตคนนั้น แทบจะเหมือนกับคนแปลกหน้าสำหรับเราในปัจจุบัน นี่จึงเป็นสาเหตุของการตัดสินใจที่บางคนไม่ทำอะไรบางอย่างเพื่อตัวเองในอนาคต เช่น การออมเงินเพื่อการเกษียณ

 

 

ข้อมูลการออมของประเทศมั่งคั่งส่วนใหญ่พบว่า คนอายุ 65 ปี โดยเฉลี่ย มีเงินเก็บมากพอที่จะทำให้คุณภาพชีวิตเหมือนเดิม จนถึงอายุ 70 ต้น ๆ แต่ข้อเท็จจริงคืออายุขัยของหลายคนอาจมากกว่า 80 ปี นั่นแปลว่าคนส่วนใหญ่ จะมีเงินไม่พอในการรักษามาตรฐานการครองชีพเดิมหลังเกษียณ

 

 

มีหลายคนที่ชีวิตเปลี่ยนจากชนชั้นกลางในช่วงก่อนเกษียณ กลายเป็นชีวิตที่เกือบจนหลังเกษียณ และดูเหมือนว่าสถานการณ์นี้จะแย่ลงเรื่อย ๆ

 

 

ภายหลังวิกฤตการณ์การเงินครั้งใหญ่ของโลกในปี 1933 ชาวอเมริกันได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ มีคนตกงาน และผู้สูงอายุยากจนเป็นจำนวนมาก นำไปสู่การผลักดันระบบเงินบำนาญครั้งใหญ่ของประเทศ ที่ภาครัฐจะเก็บเงินของผู้มีรายได้เข้าระบบประกันสังคม และจ่ายคืนเป็นเงินบำนาญเมื่อแรงงานเกษียณ

 

 

อย่างไรการตาม การพึ่งพาเฉพาะเงินบำนาญที่ได้น้อย อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้เกษียณมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ดังนั้น เงินเก็บของตนเองจึงเป็นสิ่งจำเป็น

 

 

ในปี 1980 แผนการออม 401K ถูกคิดค้นขึ้นในสหรัฐฯ เป็นแผนการออมที่มีลักษณะเป็นกองทุนประกันสังคม โดยลูกจ้างจะเลือกหักเงินเข้ากองทุนการออม ซึ่งสามารถนำไปลดหย่อนภาษี และมีนายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบ โดยเงินดังกล่าวจะถูกนำไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน

 

 

แผนการออม 401K เป็นหลักการที่ดูดี แต่เวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่า แผนนี้อาจยังไม่ดีพอที่จะกลายเป็นระบบเกษียณแห่งชาติของสหรัฐฯ

 

 

401K อาจไม่เหมาะกับทุกคน เพราะปัญหาหลักคือ ผู้ออมจะต้องเก็บเงินเพื่อเกษียณเอง ซึ่งหมายความว่าผู้ออมต้องมีความรู้ด้านการเงินที่ดีพอเพื่อให้การลงทุนเติบโต และต้องไม่ถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสูงเมื่อทำธุรกรรม

 

 

ปัจจัยสำคัญที่จะชี้วัดความสำเร็จของการออมเพื่อการเกษียณคือ ผู้ออมต้องเริ่มเก็บเงินให้เร็วที่สุด หากสามารถหักแบบอัตโนมัติโดยไม่ต้องคิดถึงเงินก้อนนี้จนถึงวันเกษียณได้เลยยิ่งดี

 

 

แต่ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟังคือ แม้ว่าบางคนจะตัดสินใจออมเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ แต่จากรายได้ที่ต่ำ และค่าครองชีพที่สูง ทำให้แรงงานจำนวนมาก มีรายได้ไม่พอสำหรับสำหรับชีวิตประจำวัน อย่าว่าแต่หักเงินออม เงินที่ต้องใช้ในแต่ละวันยังหามาได้อย่างยากลำบาก ไม่นับรวมคนอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบสวัสดิการในสังคม

 

 

กลายเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำ ที่คนยิ่งเข้าถึงทรัพยากร-เข้าถึงสวัสดิการ ยิ่งได้ประโยชน์จากสิทธิประโยชน์ทางภาษี เพราะพวกเขามีเงินเหลือ เขาจึงมีเงินออมที่จะหักเข้ากองทุน และได้ลดหย่อนภาษี เงินจึงโตไวขึ้น แต่คนที่มีรายได้น้อยไม่สามารถทำแบบนี้ได้ โดยบางคนอาจต้องลำบาก ทำงานอย่างหนักจนวาระสุดท้ายของชีวิต

 

 

ปัจจุบันโลกกำลังหาทางออกเพื่อดูแลประชากรในวันเกษียณ การเก็บภาษีในอัตราภาษีก้าวหน้า เก็บภาษีคนรวย มากกว่าคนจนกำลังเป็นประเด็นท้าทายในสังคม

 

 

ระหว่างที่ยังไม่มีทางออก ในเมื่อเรามีโอกาสที่จะมีชีวิตได้ยาวนานขึ้น มีผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่มเสนอให้ยืดอายุในการทำงานออกไป หรือทำให้การเกษียณช้าลง เพื่อให้คนสามารถทำงานได้นานมากขึ้น แต่คนที่ไม่เห็นด้วย คัดค้านจากเหตุผลที่ทุกคนควรจะมีสิทธิ์เลือก ว่าอยากทำงานต่อหรือพักผ่อน อายุที่ยืนไม่ได้แปลว่าต้องทำงานมากขึ้นเสมอไป

 

 

การสร้างระบบสวัสดิการเพื่อดูแลคนวัยเกษียณ จะยังคงเป็นความท้าท้ายของโลกต่อไป จนกว่าจะถึงวันที่เราจะหาทางออกได้ ระหว่างนี้การดูแลตนเองให้ดี และเรียกหาระบบที่ดีขึ้น ยังคงเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป...

 

เรียนรู้เพิ่มเติม
Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 26 - 30 August 2024
2024 Aug 28 •
รวมกองทุนหุ้น Nvidia ลงทุนกับผู้ชนะแห่งยุคสมัย AI
2024 Aug 27 •
บริษัทตีแตกจำกัด
2024 Aug 27 •
ทั่วโลกสะเทือน! ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลบ ตลาดเอเชียปรับตัวลดลง จับตาประธาน Fed ชี้ชะตาคืนนี้สามทุ่ม
2024 Aug 23 •
บาทแข็ง...แต่เงินในพอร์ตไม่แข็งตาม! อะไรคือสาเหตุที่แท้จริง และส่งผลต่อการลงทุนของเราอย่างไร?
2024 Aug 22 •
JPY Carry Trade ปั่นป่วนตลาดการเงิน
2024 Aug 22 •
Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 19 - 23 August 2024
2024 Aug 21 •
จับตาให้ดี! การประชุม Jackson Hole คืออะไร ทำไมถึงสำคัญขนาดนี้? มาไขปริศนาเศรษฐกิจโลกไปพร้อมกัน
2024 Aug 20 •
จับตา Nvidia ประกาศงบสัปดาห์หน้า อีเว้นท์สำคัญชี้นำว่าตลาดจะ Bull หรือ Bear
2024 Aug 20 •
กำไรดีแต่หุ้นตก
2024 Aug 19 •
สรุปมาให้แล้ว! เงินเดือนเท่าไรต้องเสียภาษีเงินได้ ลดหย่อนยังไงให้คุ้มที่สุด?
2024 Aug 16 •
โพยกองทุนจัดชุด SSF และ RMF ปี 2024 ตัวช่วยลดหย่อนภาษีแบบจัดพอร์ต
2024 Aug 16 •
โพยกองทุนลดหย่อนภาษี SSF RMF และ Thai ESG อัปเดตใหม่สิงหาคม 2024 คัดเน้นที่เดียวจบ!
2024 Aug 16 •
Finnomena Funds Market Alert : ตลาดหุ้นเอเชียฟื้นตัว หลังนักลงทุนคลายกังวล Recession
2024 Aug 16 •
ชวนมนุษย์เงินเดือนพิชิตเงินล้านด้วยกองทุน SSF ภายใน 10 ปี!!
2024 Aug 14 •
Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 13 - 16 August 2024
2024 Aug 14 •
กองทุนลดหย่อนภาษี Thai ESG เหมาะกับใคร คนแบบไหนที่ควรซื้อ
2024 Aug 14 •
ข้อผิดพลาดในการลงทุนที่ไม่อยากให้ทำตาม
2024 Aug 13 •
เศรษฐกิจสหรัฐกำลังจะถดถอย และตลาดกำลังจะเข้าสู่ตลาดหมีหรือไม่
2024 Aug 13 •
อธิบายกฏ Sahm Rules จุดทริกเกอร์ของ Recession ที่ว่ากันว่าแม่นยำ 100%
2024 Aug 07 •
Finnomena Funds Market Alert: ตลาดหุ้นเอเชียฟื้น หลังเหตุการณ์ Black Monday
2024 Aug 06 •
Mr.Messenger Call: Stop Loss หุ้นจีน MEGA10CHINA-A รักษาวินัยการลงทุน
2024 Aug 06 •
Finnomena Funds Market Alert: ตลาดหุ้นเอเชียร่วงหนัก กังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอย
2024 Aug 05 •
เกษียณ 30 ล้าน ต้องลงทุนเดือนละเท่าไหร่?
2024 Aug 05 •
FundTalk Call: เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเติบโต AI และเกาหลีใต้
2024 Aug 02 •
Mr.Messenger Call: Stop Loss หุ้นจีน Greater China รักษาวินัยการลงทุน
2024 Aug 02 •
Finnomena Funds Market Alert: ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลงแรง 5% ในช่วงครึ่งเช้า หลังนักลงทุนคาดว่า BoJ อาจใช้นโยบายเข้มงวดขึ้น
2024 Aug 02 •
Finnomena Funds Market Alert: ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลงกว่า 3% ในช่วงครึ่งเช้า หลังธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย
2024 Aug 01 •
รู้จัก Temu อีคอมเมิร์ซจีนที่กำลังบุกไทย เจ้าของเดียวกับ Pinduoduo
2024 Aug 01 •
Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 30 July - 2 August 2024
2024 Jul 31 •
เริ่มลงทุนอายุหลักสี่ อยากมีเงิน 10 ล้านใช้หลังเกษียณ ยังไม่สาย
2024 Jul 31 •
เตรียมขยับ รับหุ้น AI ย่อ! ส่อง FundTalk Contrarian Portfolio สวนตลาดสไตล์ Jet – Finnomena
2024 Jul 31 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นจีนพุ่ง 2% หลังปิดประชุมโปลิตบูโร
2024 Jul 31 •
10 กองทุน ผลตอบแทนพุ่งแรง! ประจำเดือนกรกฎาคม 2024
2024 Jul 31 •
รู้จัก ESG เทรนด์ลงทุนแห่งอนาคตที่สถาบันใหญ่อย่าง BlackRock ให้ความสำคัญ
2024 Jul 31 •
รวมครบจบ "กองทุนทองคำ" กระจายเสี่ยง เลี่ยงวิกฤต
2024 Jul 26 •
FundTalk Call: เพิ่มสัดส่วนหุ้น Tech และ AI ในจังหวะที่ราคาปรับฐาน
2024 Jul 26 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นเอเชียดิ่งแรง ตามหุ้นสหรัฐฯ ที่ร่วงกว่า 2%
2024 Jul 25 •
Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 23 - 26 July 2024
2024 Jul 25 •
รีวิวกองทุน UOBSGC: รับจบครบทุกจีน ฮ่องกง ไต้หวัน
2024 Jul 24 •
ลงทุนอะไร ได้เงินล้าน
2024 Jul 23 •
FundTalk Call: Take Profit หุ้น EM กับ AI และพักเงินลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ
2024 Jul 19 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นฮ่องกงลง 2% หลังการประชุม Third Plenum สิ้นสุด
2024 Jul 19 •
กลยุทธ์ลงทุนรับมือ Trump 2.0
2024 Jul 19 •
แนะนำปรับพอร์ตเดือนกรกฏาคม 2024: ขายหุ้นยุโรป ซื้อทองคำ พร้อมปรับสัดส่วนตราสารหนี้
2024 Jul 19 •
Mr.Messenger Call: ถึงเวลาหุ้นพลังงานโลก ทะลุ Downtrend Line พร้อมเกิด Buy Signal
2024 Jul 19 •
Mr.Messenger Call: ขายกองทุน SCBNEXT(A) ล็อกกำไร 5% พร้อมเข้าลงทุนต่อใน KT-ENERGY
2024 Jul 19 •
Finnomena Mid-Year Investment Outlook 2024: “Tempering Expectation" เมื่อตลาดคืนสมดุล ลงทุนครึ่งปีหลัง ต้องมองอย่างไร?
2024 Jul 17 •
Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 15-19 July 2024
2024 Jul 17 •
MEVT Call: ทองคำวิ่งต่อจาก Real Yield ปรับตัวลง และธนาคารกลางซื้อเพิ่ม
2024 Jul 17 •
MEVT Call: ได้เวลา Take Profit ยุโรป ตลาดตอบรับข่าวดีเต็มที่แล้ว Valuation กลับมาที่ Fair Value
2024 Jul 17 •
ทฤษฎีแมลงสาบในตลาดหุ้น
2024 Jul 15 •
FundTalk Call: จังหวะขายหุ้นสหรัฐฯ และหุ้น AI พร้อมเพิ่มสัดส่วนในจีน Greater China
2024 Jul 12 •
ค่อย ๆ ออมแค่ 10% ของเงินเดือน กี่ปีมีเงินล้านแรก?
2024 Jul 12 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นฮ่องกงพุ่ง 2.5% หลังส่งออกเพิ่มขึ้นสูงกว่าคาด
2024 Jul 12 •
Mr.Messenger Call: Take Profit หุ้นญี่ปุ่น KFJPINDX-A ล็อกกำไร 8% แล้วหมุนเงินลงทุนต่อในหุ้นจีน
2024 Jul 12 •
Mr.Messenger Call: แนะนำซื้อ MEGA10CHINA-A หลังดัชนี Hang Seng ยืนเหนือ Golden Ratio เตรียมทะยานสู่ High เดิม
2024 Jul 12 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นฮ่องกงทะยาน 2% หลังทางการอนุมัติคุม Short-Selling
2024 Jul 11 •
อัปเดตกองทุนแนะนำ FundTalk Call โหมดเก็งกำไรลดดอกเบี้ย Fed ไม่รอแล้วเงินเฟ้อ 2%
2024 Jul 11 •
Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 8-12 July 2024
2024 Jul 11 •
เฟดลดดอกเบี้ยหรือไม่? โจทย์ใหญ่ครึ่งหลังปี 2024
2024 Jul 11 •
มัดรวมกองทุนหุ้นเวียดนาม ที่ว่ากันว่าเหมือนซื้อหุ้นไทยเมื่อ 20 ปีก่อน
2024 Jul 10 •
เล่าธุรกิจ BYD ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนที่ 'Charlie Munger' เชียร์ให้ 'Warren Buffett' ลงทุนมาแล้วกว่า 16 ปี
2024 Jul 09 •
หุ้นหมายเลข 1 เวียดนาม
2024 Jul 08 •
ยอดขายชิป AI มาแรง คาดดันกำไร Samsung โต 15 เท่า! หนุนโมเมนตัมตลาดหุ้นเกาหลีใต้ AI Bloom ที่ราคายังไม่แพง
2024 Jul 07 •
World Bank หั่นประมาณการ GDP ไทย 2024 เหลือโต 2.4% จาก 3.2% เมื่อช่วงต้นปี
2024 Jul 04 •
Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 1-5 July 2024
2024 Jul 03 •
Mr.Messenger Call: หุ้นอินเดียอาจย่อ แบ่ง Take Profit ครึ่งหนึ่ง ล็อกกำไร 11%
2024 Jul 03 •
10 กองทุน ผลตอบแทนพุ่งแรง! ประจำเดือนมิถุนายน 2024
2024 Jul 02 •
รู้จัก 'Impossible Trinity' สามเหลี่ยมที่เป็นไปไม่ได้ บทเรียนต้มยำกุ้ง
2024 Jul 02 •
สรุปผลตอบแทนสินทรัพย์การลงทุนทั่วโลก ประจำไตรมาส 1 ปี 2024
2024 Jul 02 •
ธีม AI จะแบกพอร์ตลงทุนของเราได้ต่ออีกปีไหม
2024 Jul 01 •
FundTalk Call: ถึงเวลาขายหุ้นจีน รักษาวินัยการลงทุนในระยะสั้น
2024 Jun 28 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นฮ่องกงร่วง 2% หลังกำไรภาคอุตสาหกรรมเพิ่มเล็กน้อย
2024 Jun 27 •
Merkle Weekly Snapshot: บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์ 24-28 June 2024
2024 Jun 26 •
10 ข้อควรรู้กองทุนตราสารหนี้
2024 Jun 26 •
เงินเดือนเท่านี้ มีล้านแรกเมื่อไร?
2024 Jun 25 •
Mr.Messenger Call: Take Profit ทั้งหมดในกองทุน ASP-DIGIBLOC ล็อกกำไร 35% พร้อมลงทุนต่อในเวียดนามและจีน
2024 Jun 25 •
ชี้เป้ากองทุนแนะนำ มองขาดทุกโอกาสการลงทุน
2024 Jun 24 •
เปลี่ยนเงิน 5,000 ให้เป็นเงินล้าน
2024 Jun 24 •
พังเพราะผู้บริหารเล่นหุ้น
2024 Jun 24 •
ลงทุนต่อเดือนเท่านี้ กี่ปีมีเงินล้านแรก?
2024 Jun 24 •
มีเงิน 50,000 บาท จัดพอร์ตยังไงให้ปัง ไม่พัง ได้ตังค์ (ระยะยาว)
2024 Jun 24 •
FundTalk Call: กองทุนหุ้นเกาหลีใต้ โอกาสลงทุนธีม AI ของดีราคาถูก
2024 Jun 21 •
สรุปกองทุนหุ้นจีนทั้งหมดในตอนนี้! ใครจะแก้พอร์ต ถัวเพิ่ม หรือเริ่มลงทุน อ่านก่อนเลย
2024 Jun 20 •
ลงทุนอย่างไร เมื่อยุโรปหันขวา
2024 Jun 20 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นฮ่องกงปรับตัวขึ้นราว 3% หลังจีนประกาศเตรียมปฏิรูปตลาด STAR
2024 Jun 19 •
ท้อแท้-สิ้นหวัง
2024 Jun 19 •
Mr.Messenger Call: แนะนำขาย SCBSEMI(A) ทำกำไร 11% พร้อมหมุนเงินลงทุนต่อในหุ้นเวียดนาม
2024 Jun 14 •
รีวิว MUBONDUH-A ก้าวอย่างมั่นคง ในช่วงดอกเบี้ยขาลงข้างหน้า ด้วยกองทุนตราสารหนี้อเมริกา
2024 Jun 14 •
รู้จัก FPT บริษัทไอทีใหญ่สุดของเวียดนามที่ ดร.นิเวศน์ ต้องไปเห็นกับตา
2024 Jun 13 •
กองทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาทั้งหมดในตอนนี้! จัดกลุ่มให้ครบ ทุกแบบ ทุกสไตล์
2024 Jun 13 •
เมื่อเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน และตลาดทุน สวนทาง
2024 Jun 12 •
ซินจ่าวเวียดนาม
2024 Jun 10 •
Real-World Assets (RWAs) เทรนด์เปลี่ยนสินทรัพย์จริงสู่โลกดิจิทัล
2024 Jun 10 •
แนะนำปรับพอร์ต GAR, All Balance, All Star: แบ่งขายหุ้นยุโรป หลังตลาด Price in การลดดอกเบี้ยเต็มที่แล้ว
2024 Jun 06 •
10 กองทุน ผลตอบแทนพุ่งแรง! ประจำเดือนพฤษภาคม 2024
2024 Jun 05 •
Finnomena Funds Market Alert: ตลาดหุ้นอินเดียร่วงแรงกว่า 6% หลังพรรค BJP มีแนวโน้มชนะ แต่ไม่ขาดลอยตามที่ตลาดคาด
2024 Jun 04 •
เกษียณเร็วตามเทรนด์ FIRE ทำได้จริงหรือไม่? ต้องลงทุนอย่างไร หากอยากเกษียณอายุ 40 ปี
2024 May 31 •
อัปเดตล่าสุด! 10 บริษัทมูลค่าสูงสุด ปี 2024 Nvidia ใกล้แซง Apple ขึ้น No.2 โลก
2024 May 29 •
Finnomena Funds ตอกย้ำความเป็น Ahead of The Game เผยกองทุนแนะนำปี 2024 มองขาดสร้างโอกาสชนะเกิน 80%
2024 May 28 •
รู้จักกองทุน SIPs หนุนตลาดหุ้นอินเดีย All-Time High ด้วยการส่งเสริมคนในประเทศ "ออมแบบมีวินัย" "ลงทุนอย่างเป็นระบบ"
2024 May 27 •
เก็บเงินลงทุนวันละ 100 บาท ก็มีเงินล้านได้ !?
2024 May 24 •
มีเงิน 500,000 บาทแล้ว DCA อีกกี่ปีถึงจะมีเงินล้าน?
2024 May 24 •
รีวิวกองทุน TISCOAI vs MEGA10AI ใครคือผู้ชนะในสนาม AI
2024 May 23 •
Mr.Messenger Call: Take Profit หุ้นเวียดนามทำกำไร 8% พร้อมหมุนเงินลงทุนต่อในหุ้นญี่ปุ่น หุ้นเติบโต
2024 May 23 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นฮ่องกงร่วง 2% กังวลผลประกอบการของบริษัทในจีน
2024 May 21 •
FundTalk Call: จีนแผ่นดินใหญ่ A-Shares ฟื้นตัว รับยาแรงมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ จริงจัง
2024 May 21 •
5 กองทุนหุ้นเวียดนาม โชว์ฟอร์มแรงทะยาน! ทำผลตอบแทน 1 ปีปังสุด
2024 May 17 •
คัด 5 กองทุนหุ้นจีนพุ่งแรง! ทำผลตอบแทนปังสุดในรอบ 3 เดือน
2024 May 17 •
Mr.Messenger Call: หุ้นเซมิคอนดักเตอร์ ทะลุ Downtrend Line พร้อมเกิด Bullish Signal
2024 May 17 •
5 FAQ ที่ถูกถามบ่อยที่สุด สำหรับการลงทุนระยะยาว
2024 May 16 •
Mr.Messenger Call: ได้เวลา Take Profit หุ้น EM แล้วหมุนเงินลงทุนต่อในหุ้นญี่ปุ่น และหุ้นเติบโต
2024 May 16 •
Mr.Messenger Call: โอกาสเก็งกำไรใน ARKW กลับมาอีกครั้ง ก่อนทะยานขึ้นรอบใหม่
2024 May 16 •
Mr.Messenger Call: ถึงจุด Take Profit หุ้นจีน หมุนเงินลงทุนต่อในหุ้นญี่ปุ่น
2024 May 16 •
กองทุนหุ้นจีน Hedged กับ Unhedged ค่าเงิน มีผลกระทบมากแค่ไหน?
2024 May 14 •
แด่ Jim Simons ต้นแบบนักลงทุน Quant King ผู้สร้างปรากฎการณ์ผลตอบแทนระดับตำนาน
2024 May 13 •
MEVT Call: เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวต่อเนื่อง พร้อม Flow ต่างชาติไหลเข้า
2024 May 13 •
Checklist 10 เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ที่ควรทำก่อนอายุ 30
2024 May 10 •
“9 ปฏิรูป” แห่งทศวรรษใหม่ของตลาดหุ้นจีน
2024 May 10 •
GGG ปรับพอร์ตใหญ่ประจำปี 2024: India, Technology, Sustainability และ Luxury
2024 May 10 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นฮ่องกงพุ่ง 2% หลังหน่วยงานกำกับฯ เตรียมยกเว้นภาษีเงินปันผล
2024 May 10 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นเกาหลีใต้พุ่งทะยาน 2% รับความหวัง เฟดลดดอกเบี้ย
2024 May 07 •
Finnomena Investment Outlook กลยุทธ์การลงทุนเดือนพฤษภาคม 2024: เศรษฐกิจโลกขยายตัวเกินคาด ถึงเวลาปรับพอร์ตล็อกกำไร
2024 May 03 •
วิถี Satya Nadella เด็กหนุ่มอินเดีย คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่กรุงเทพฯ สู่ซีอีโอร่างทองแห่ง Microsoft
2024 May 02 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นฮ่องกงปรับตัวขึ้น 2% หลัง Fed คงดอกเบี้ยตามคาด
2024 May 02 •
Mr.Messenger Call: Take Profit ตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์ พร้อมหมุนเงินเข้าลงทุนต่อในหุ้นจีนและยุโรป
2024 May 02 •
สูตรแบ่งเงินเดือน ให้มีเงินเก็บ ควรแบ่งใช้-เก็บยังไงดี?
2024 May 01 •
โอกาสลงทุนท่ามกลางสงครามไปกับ “ธีมอากาศยานและการป้องกันประเทศ”
2024 Apr 29 •
Mr.Messenger Call: หุ้นจีนเตรียมทะยาน Upside ยังเหลือ หลังผ่านอีกแนวต้านสำคัญ
2024 Apr 29 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นฮ่องกงทะยานทั้งสัปดาห์ เมื่ออสังหาฯ ดูดี ราคาขึ้นในรอบเกือบปี
2024 Apr 26 •
หุ้นจีน Hang Seng ทำจุดสูงสุดในรอบปี "ของจริง" หรือ "เด้งหลอก"
2024 Apr 25 •
Warren Buffett ลงทุนอย่างไรในช่วงสงคราม
2024 Apr 24 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นเอเชียทะยาน 2% จากความกังวลเกี่ยวกับสงครามที่ผ่อนคลายลง
2024 Apr 24 •
Mr.Messenger Call: ถึงเวลาลงทุนหุ้นเวียดนาม หลังดัชนีทำสัญญาณกลับตัว
2024 Apr 23 •
สงครามแค่ชั่วคราว ตลาดผ่อนคลาย ได้เวลา Buy the Dip
2024 Apr 23 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นฮ่องกงทะยาน 2% หลังจีนประกาศ ดันฮ่องกงเป็นศูนย์กลางทางการเงินนานาชาติ
2024 Apr 22 •
Mr.Messenger Call: Stop Loss หุ้นไทยขนาดกลางและขนาดเล็ก
2024 Apr 22 •
Finnomena Funds Market Alert : ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงแรง หลังอิสราเอลตอบโต้กลับอิหร่าน
2024 Apr 19 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นไทยปรับตัวลง 2% จากความกังวลเรื่องความไม่สงบในฝั่งตะวันออกกลาง
2024 Apr 17 •
เศรษฐกิจร้อน นโยบายการเงินก็ร้อน สงครามยิ่งร้อน
2024 Apr 17 •
เกษียณโสดอย่างเฉิดฉาย! เลือก “บ้านพักคนชรา” แบบไหนดี?
2024 Apr 11 •
Passive Income คืออะไร?: รวมสุดยอดไอเดียสร้าง Passive Income ผ่านการลงทุน
2024 Apr 11 •
ชี้เป้ากองทุนแนะนำ สไตล์ MEVT Call คว้าโอกาสเติบโตในระยะยาว [อัปเดตมุมมอง ณ วันที่ 10 เม.ย. 2024]
2024 Apr 10 •
American Outperform ทำไมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐถึงดีขนาดนี้!
2024 Apr 10 •
Mr.Messenger Call: SCBCOMP ถึงจุด Take Profit พร้อมหมุนเงินเข้าลงทุนต่อในหุ้นยุโรป-หุ้นอินเดีย
2024 Apr 09 •
Finnomena Investment Outlook กลยุทธ์การลงทุนเดือนเมษายน 2024: เฟดลุยลดดอกเบี้ย เศรษฐกิจโลกลุ้นฟื้นตัว โอกาสลงทุนอยู่ที่ไหน
2024 Apr 08 •
ชี้เป้ากองทุนแนะนำ สไตล์ Mr.Messenger จับจังหวะเก็งกำไรในตลาดขาขึ้น [อัปเดตมุมมอง ณ วันที่ 3 เม.ย. 2024]
2024 Apr 07 •
FundTalk มองสวนตลาด! หุ้นอเมริกา-ยุโรปใกล้ปรับฐาน โยกเงินเก็บไว้ตราสารหนี้
2024 Apr 05 •
มอง "ตลาดหุ้นจีน" ผ่านสายตา Ray Dalio
2024 Apr 04 •
ส่องปรากฏการณ์ Sell India Buy China บริษัทบริหารสินทรัพย์ทั้งหลาย กำลังบอกอะไรเรา?
2024 Apr 03 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นฮ่องกงทะยาน 2% เมื่อภาคการผลิตจีนขยายตัวในรอบ 6 เดือน
2024 Apr 02 •
ชี้เป้ากองทุนแนะนำ สไตล์ FundTalk เฟ้นหาโอกาสในตลาดที่ถูกมองข้าม [อัปเดตมุมมอง ณ วันที่ 27 มี.ค. 2024]
2024 Mar 29 •
สรุป FINNOMENA Live: หุ้นสหรัฐฯ All Time High จังหวะนี้ กองทุนไหนดี?
2024 Mar 29 •
สัญญาณ Buffett Indicator ใกล้แตะ 200% เตือนหุ้นสหรัฐฯ เสี่ยงฟองสบู่
2024 Mar 28 •
ถึงเวลาปรับพอร์ต All Balance: หมุนเข้า UOBSA กองทุนเด่นเลือกหุ้นด้วย AI ร่วมกับคน
2024 Mar 27 •
FundTalk Call: โอกาสลงทุนในหุ้น Clean Energy เมื่อ Fed คอนเฟิร์มลดดอกเบี้ย 3 ครั้งปีนี้
2024 Mar 26 •
ตลาดหุ้นเวียดนามเตรียมทะยานสู่ Emerging Market แต่ละบลจ. มองอย่างไร และจะเกิดขึ้นเมื่อไร?
2024 Mar 26 •
รวม 6 กองทุนสาย EV ตัวเด่น โตไปกับเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้า ที่จะมาเขย่าโลกยานยนต์
2024 Mar 25 •
เปิดโผ 10 กองทุนปันผลสูง สร้าง Passive Income เสริมความมั่งคั่งให้พอร์ตระยะยาว
2024 Mar 22 •
เป้าหมาย “ทองคำ” หลังผ่านจุดสูงสุดใหม่ตลอดกาล
2024 Mar 22 •
รีวิว ‘หุ้นอินเดีย’ ใน B-BHARATA กองทุนอินเดียตัวท็อป ลงทุนอะไรบ้าง?
2024 Mar 21 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นเอเชียบวกถ้วนหน้า หลัง FED คงดอกเบี้ย
2024 Mar 21 •
วิเคราะห์หุ้นสหรัฐฯ กลุ่มไหนบ้างที่ราคายัง Laggard
2024 Mar 19 •
อวสานยุค “แปลงร่างเป็นญี่ปุ่น”
2024 Mar 19 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นเวียดนามดิ่ง 3% หลังนักลงทุนต่างชาติเทขาย
2024 Mar 18 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นฮ่องกงลง 2% หลังแบงก์ชาติจีนคงดอกเบี้ยตามคาด
2024 Mar 15 •
สรุปประเด็นสำคัญ จีนประชุมสองสภา จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญหรือไม่
2024 Mar 14 •
รีวิวกองทุน KKP EMXCN ไม่มีจีนแล้ว!!! จะปังกว่ากองทุน EM หรือไม่?
2024 Mar 14 •
ถ้าเราทํางานจนเกษียณ เราจะได้อะไรบ้าง?
2024 Mar 14 •
Finnomena Funds Market Alert : หุ้นเวียดนามพุ่งรวดเดียว 2% หลังจับมือด้านเศรษฐกิจกับญี่ปุ่น
2024 Mar 13 •
Mr.Messenger Call: Take Profit กองทุน SCBNEXT(A) พร้อมหมุนเงินเข้าเก็งกำไรต่อในสินทรัพย์อื่น
2024 Mar 13 •
เศรษฐกิจและตลาดหุ้นจีนในปีมังกร 2024
2024 Mar 13 •
4 กองทุนรับ BTC ลุ้น All Time High
2024 Mar 12 •
ประชันมุมมองนักกลยุทธ์ ตลาดเกิดใหม่ (EM) vs ตลาดพัฒนาแล้ว (DM) ลงทุนอะไรดี?
2024 Mar 08 •
Mr.Messenger Call: Take Profit หุ้น Blockchain บางส่วน พร้อมหมุนเงินเข้าเก็งกำไรต่อในสินทรัพย์อื่น
2024 Mar 08 •
รู้จัก ‘ตลาดหุ้นโลก’ แต่ละประเทศมีตลาดหุ้นอะไรบ้าง?
2024 Mar 07 •
เงินประกันสังคม 750 บาท ถูกหักแล้ว ไปอยู่ไหน?
2024 Mar 06 •
วิธีดู ราคาทองขึ้น-ลง เกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง?
2024 Mar 06 •
ถึงเวลาปรับคำแนะนำแผน Goal และ 1st Million รับมุมมองการลงทุน 2024
2024 Feb 29 •
รู้จัก 10 ‘หุ้นรัสเซีย’ ทรงอิทธิพลในแดนหมีขาว
2024 Feb 29 •
รู้จัก ‘หุ้นไต้หวัน’ ยักษ์ใหญ่ 10 ตัว มีอะไรบ้าง?
2024 Feb 29 •
มุมมองจากตลาดการเงิน “เศรษฐกิจไทยวิกฤตหรือไม่”
2024 Feb 27 •
สูตรบริหารเงินเดือน มีกิน มีเก็บ เหลือลงทุน
2024 Feb 27 •
ตะลุยกองทุนหุ้นอินเดีย มีอะไรที่ต้องรู้ในตลาดแห่งความหวังนี้?
2024 Feb 25 •
ส่อง 10 ‘หุ้นยุโรป’ ทวีปที่ไม่ได้มีแค่แบรนด์เนม พร้อมกองทุนหุ้นยุโรปแนะนำ
2024 Feb 23 •
กองทุนที่มี Quality และเติบโต ดูตรงไหน?
2024 Feb 22 •
วัดทุกมิติ "จีน" ปะทะ "อินเดีย" นาทีนี้ใครคือผู้ชนะ?
2024 Feb 20 •
FINNOMENA Investment Outlook กุมภาพันธ์ 2024: เมื่อหุ้นสหรัฐ All-time High สวนหุ้นจีนเดินหน้าทำ Low เดือนนี้ลงทุนอย่างไร?
2024 Feb 15 •
มหัศจรรย์ตลาดหุ้นอินเดีย
2024 Feb 12 •
รีวิว KKP GNP กองทุนตัวรับจบ! ถือกองเดียว กระจายการลงทุนไปหุ้นทั่วโลก
2024 Feb 08 •
Magnificent Seven จะหนุนตลาดหุ้นสหรัฐถึงกี่โมง
2024 Feb 08 •
สรุปกลยุทธ์การลงทุนทุกตลาดหุ้นทั่วโลก
2024 Feb 06 •
รีวิวกองทุน ASP-DIGIBLOC: ตะลุยมิติใหม่ของการลงทุนแห่งยุคดิจิทัล
2024 Feb 02 •
กองทุนอะไรดี มีโอกาสอยู่ที่ไหน? เมื่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ วิ่งเป็นกระทิงเต็มตัว
2024 Feb 02 •
Mr.Messenger Call: แนะนำขายเวียดนาม ล็อคกำไร 6-7% พร้อมหมุนเงินหาโอกาสเก็งกำไรต่อ
2024 Feb 01 •
หุ้นจีนถูกสุดในรอบ 10 ปี หรือนี่คือจังหวะถัวแล้ว
2024 Jan 30 •
Mr.Messenger Call: หุ้น Blockchain เตรียมรีบาวด์ หลังฟื้นตัวขึ้นยืนเหนือแนวต้านสำคัญ
2024 Jan 30 •
Mr.Messenger Call: เก็งกำไรสินค้าโภคภัณฑ์ หลังมี momentum เชิงบวก
2024 Jan 29 •
เคล็ดลับลงทุนหุ้น
2024 Jan 29 •
How to ลงทุนหุ้นปันผล
2024 Jan 29 •
ศึกการลงทุน กระเรียนผงาด คชสารผยอง มังกรสะบัดหาง
2024 Jan 26 •
รีวิวกองทุน KFSINCFX-A: จังหวะของตราสารหนี้โลก โอกาสทองในรอบ 10 ปี - Copy
2024 Jan 23 •
ช้อปเต็มระบบ 50,000 บาท ได้เงินภาษีคืนเท่าไร? จากโครงการ Easy E-Receipt
2024 Jan 22 •
รวมรายชื่อร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2567
2024 Jan 17 •
คัด 2 กองทุนหุ้นไทย รับจังหวะตลาดพลิกเป็นขาขึ้น
2024 Jan 10 •
ชวนดูพลัง ‘ผลตอบแทนทบต้น’ แม้แต่ไอน์สไตน์ยังยกให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก!?
2024 Jul 02 •
เงินเกษียณไม่พอแน่ ถ้ายังทำแบบนี้!
2019 Nov 12 •
4 พฤติกรรม ขวางกั้นความรวย
2019 Oct 07 •
รวมกองทุนหุ้น Apple ลงทุนกับบริษัทนวัตกรรมเปลี่ยนโลก
2024 Jun 16 •
รวมกองทุนหุ้น Nvidia ลงทุนกับผู้ชนะแห่งยุคสมัย AI
2024 Jun 10 •
แผนการเงินตลอดชีวิตของคนเจน Z
2022 Sep 26 •
อยากรวยต้องเริ่มตอนนี้ เพราะคำว่า “พรุ่งนี้ค่อยประหยัด” ไม่มีอยู่จริง
2020 Jul 23 •
จดรายจ่ายให้เป๊ะ...อาจเก็บเงินได้มากขึ้น! จริงเหรอ?
2019 Sep 26 •
สรุปบทเรียนการเงินจาก Money, Explained: สารคดีไซส์มินิจาก Netflix
2021 Jun 16 •
ซื้อคอนโด มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง? เตรียมล่วงหน้าไว้ ลดอาการหน้ามืด
2020 Jun 27 •
หรือเรากำลังโดนหลอก? สรุป 5 บทเรียนการลงทุนที่ได้จากหนังสือ Factfulness
2020 Jun 19 •
ทบทวนการจัดพอร์ตแบบ SAA และ TAA Asset Allocation เพื่อการเติบโตระยะยาว และ capture ผลตอบแทนระยะสั้น
2023 May 22 •
รวมแก่นของการจัดพอร์ตอย่างสบายใจ ระยะสั้นยาว ตามวัตถุประสงค์
2023 May 15 •
แนะนำการคัดกองทุนเข้าพอร์ต เน้นการเติบโตอย่างแข็งแรง ลงทุนระยะยาวสบายใจ ด้วยสูตร 60/30/10
2023 May 09 •
ทำความรู้จักกับดัชนีกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจของ SET มีกลุ่มและธุรกิจอะไรบ้าง?
2023 May 02 •
เลือกกองทุนอย่างไรดี มีเยอะแค่ไหนก็ไม่งง
2023 Apr 26 •
10 บริษัทเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
2023 Apr 25 •
Active vs. Passive Fund ค่าธรรมเนียมมีผลมากแค่ไหน?
2023 Apr 24 •
สรุป 6 ข้อคิด จากหนังสือ Thinking, Fast and Slow ที่นำไปปรับใช้กับการลงทุนได้
2021 Feb 15 •