Kept by krungsri
GET - On the App Store
เทคนิคการออม

เปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ สร้างวินัยในการเก็บเงิน 21 วัน

Share

Highlight

ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายด้านการเงินหรือด้านใดๆก็ตาม “วินัย เป็นสิ่งสำคัญขั้นพื้นฐาน การที่เราจะสร้างนิสัยบางอย่างเพื่อเป็นเส้นทางสู่ความสำเร็จนั้น อย่างแรกที่จะต้องเปลี่ยนคือการทำกิจกรรมนั้น ๆ ให้กลายเป็นนิสัยก่อน ซึ่งในทฤษฎีเปลี่ยนนิสัยนี้จะต้องทำสิ่งที่กำหนดไว้ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา 21 วัน แม้วันแรก ๆ อาจจะรู้สึกฝืนธรรมชาติตัวเองอยู่บ้าง แต่หลังจากผ่านช่วงนี้ไปได้ เราก็จะสามารถทำสิ่งนั้นได้ต่อไปเรื่อย ๆ เพราะความเคยชินนั่นเอง มาดู "สูตรเก็บสำเร็จง่าย" กับ Mission 21 วันกัน!
 
  1. ตั้งโอนเงินจากบัญชีใช้จ่ายไปยังบัญชีเงินเก็บ หรือ หยอดกระปุกทุกวันจนเป็นนิสัย
  2. รู้นิสัยการใช้เงินของตัวเองผ่านการบันทึก รายรับ - รายจ่าย
  3. การใช้กฏ ต้องใช้ (Need) หรือ ความอยากได้อยากมี (Want)
  4. เลือกบัญชีเก็บเงินที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราปกติ

วินัยทางการเงินสร้างได้ เปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ด้วยทฤษฎี 21 วัน

            ตั้งแต่เล็กจนโต ใคร ๆ ก็มักจะบอกเราว่า อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยัน และถ้าอยากใช้ชีวิตอย่างมั่นคงแบบไม่ต้องรัดเข็มขัดจนมากเกินไปจนรู้สึกลำบากก็ยิ่งต้องขยัน “เก็บออม” เอาไว้ตั้งแต่วันนี้ ซึ่งเคล็ดลับการออมเงินนั้นมีอยู่มากมายให้เราได้ศึกษาและทำตาม แต่ปัญหาใหญ่ของการออมที่กูรูด้านการเงินไม่ค่อยพูดถึงนั่นก็คือ ทำอย่างไรถึงจะออมเงินได้ตามแผนไปจนตลอดรอดฝั่ง หากยังไม่มีวินัยทางการเงิน?

            ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายด้านใดก็ตาม “วินัย เป็นสิ่งสำคัญขั้นพื้นฐาน และสามารถตัดสินได้ว่าคนคนนั้นจะประสบความสำเร็จได้หรือไม่ โดยเฉพาะหากใครที่อยากมีอิสรภาพทางการเงิน อยากกินอยากใช้หรือมีเรื่องฉุกเฉินเมื่อไหร่ก็มีเงินให้ใช้ได้อย่างไม่เดือดร้อน สิ่งที่ต้องรีบสร้างตั้งแต่วันนี้และทำให้เป็นนิสัยคือเรื่องของ วินัยทางการเงิน แต่แค่พูดอย่างเดียวอาจดูเหมือนง่าย เพราะในความเป็นจริงแล้ว การสร้างวินัยนั้นก็เหมือนกับการเข็นครกขึ้นภูเขา หากใครไม่มีความพยายามหรือแรงจูงใจมากพอ ก็อาจจะไปไม่ถึงยอดเขาสักที วันนี้ Kept by krungsri จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จึงจะมาแบ่งปันเคล็ดลับที่แม้จะไม่มีเวทมนตร์ก็สามารถเสกตัวเองให้เป็นคนใหม่ที่มีวินัยทางการเงินได้อย่างไม่น่าเชื่อ กับทฤษฎี 21 วันเปลี่ยนนิสัยที่หลายคนทดลองใช้มาแล้วและบอกต่อว่าได้ผลชัวร์ แต่จะเป็นอย่างไร ตามไปดูกันเลย

                เพราะวินัยทางการเงินไม่ได้ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด หากจะฝืนตัวเองให้เก็บออมจนเป็นนิสัยในเวลาเพียงสองสามวันอาจไม่เพียงพอ และหากไม่มีแรงกระตุ้นหรือการตั้งเงื่อนไขเลย สุดท้าย เป้าหมายที่ตั้งไว้ก็คงเป็นได้แค่สิ่งเลื่อนลอย Dr. Maxwell Maltz นายแพทย์ชื่อดังจากสหรัฐอเมริกา เจ้าของผลงานหนังสือ Psycho-Cybernetics จึงได้แนะนำทฤษฎีสู่ความสำเร็จเอาไว้ในหนังสือเล่มดังกล่าว โดยเขาเชื่อว่า การที่เราจะสร้างนิสัยอะไรบางอย่างเพื่อเป็นเส้นทางสู่ความสำเร็จนั้น อย่างแรกที่จะต้องเปลี่ยนคือการทำกิจกรรมนั้น ๆ ให้กลายเป็นนิสัยก่อน ซึ่งในทฤษฎีเปลี่ยนนิสัยนี้จะต้องทำสิ่งที่กำหนดไว้ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา 21 วัน แม้วันแรก ๆ อาจจะรู้สึกฝืนธรรมชาติตัวเองอยู่บ้าง แต่หลังจากผ่านช่วงนี้ไปได้ เราก็จะสามารถทำสิ่งนั้นได้ต่อไปเรื่อย ๆ เพราะความเคยชินนั่นเอง ซึ่งควรเริ่มต้นจากการตั้งเป้าหมายในเรื่องที่มีแนวโน้มว่าจะทำสำเร็จก่อน เพื่อทำให้เรารู้สึกมีกำลังใจในการปรับเปลี่ยนไปสู่เป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นนั่นเอง
 

แชร์ สูตรเก็บสำเร็จง่ายกิจกรรมที่ต้องตั้งใจทำต่อเนื่องใน  21 วัน

          วินัยทางการเงินก็คล้ายกับวินัยในเรื่องอื่น ๆ เพราะต้องอาศัยความสม่ำเสมอเป็นหลัก ถึงจะทำสิ่งนั้นต่อไปได้จนเป็นนิสัยและไม่รู้สึกว่าฝืน สำหรับวันนี้ Kept by krungsri ก็มีไอเดียชวนทุกคนเปลี่ยนตัวเองเพื่อสร้างวินัยทางการเงิน กับกิจกรรม 21 วันสู่สุขภาพทางการเงินที่ดีในระยะยาว ถ้าพร้อมแล้วก็เตรียมทำ Mission ให้ครบ 21 วันได้เลย
 

1. วินัยทางการเงินเริ่มได้ด้วยการออม

            ใคร ๆ ก็สามารถเริ่มสร้างวินัยได้จากการออม เพราะเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด แต่หลังจากหลายคนพยายามเก็บเงิน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเงินทอนเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือจะพยายามเก็บเงินทุกวันใส่กระปุกหรือกระเป๋าเงินที่แยกเอาไว้ต่างหาก สุดท้าย การใช้ชีวิตที่ยุ่งแบบสุดตัวก็ทำให้เราลืมหยอดกระปุกไปในที่สุด
หากการออมเองนั้นยากไป ก็ต้องรู้จักใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ เพราะสมัยนี้ตัวช่วยหลากหลายรูปแบบที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ในยุคดิจิทัลนี้มาก เช่น เราสามารถตั้งค่าให้โอนเงินจากบัญชีใช้จ่ายไปยังบัญชีเงินเก็บของเราได้เลยทุกวันในจำนวนเงินที่เราออมไหว พอออมครบ 21 วันจนเป็นนิสัยแล้ว ใครจะอัปเกรดตัวเองด้วยการแบ่งเก็บไว้ทุกเดือนอย่างน้อย 10% ทันทีที่เงินเดือนออกด้วยก็ยิ่งดี
            นอกจากนี้ จะออมเงินทั้งทีก็ต้องเลือกบัญชีอย่างชาญฉลาด ควรเลือกบัญชีที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราปกติ เพราะถ้าเก็บเงินไว้ในที่ที่เงินไม่งอกเงยก็คงไม่ไหว ปัจจุบันมีบัญชี 2 ประเภทที่เป็นที่นิยม คือ
  • บัญชีเงินฝากประจำ ต้องฝากทุกเดือน เดือนละเท่า ๆ กัน มีทั้งแบบธรรมดาและปลอดภาษี แต่ต้องเช็กเงื่อนไขให้ดีว่าสามารถถอนได้กี่ครั้ง
  • บัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงแบบไม่มีสมุดคู่ฝาก (บัญชีออนไลน์) ส่วนใหญ่สามารถสมัครและยืนยันตัวตนแบบดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชันได้ ข้อดีคือมีสภาพคล่องสูงกว่าบัญชีฝากประจำ อย่างถ้าใครเคยลองใช้แอปพลิเคชัน  Kept ก็จะรู้ว่าในแอปนี้สามารถสมัครออนไลน์ได้และมี บัญชี Grow เพื่อเริ่มเก็บด้วย Kept ตั้งแต่วันนี้เลย ที่ทำหน้าที่เหมือนกระปุกเก็บเงินก้อน และให้ดอกเบี้ยสูงถึง 1.7% ต่อปี* จะใช้ก็ถอนได้
*ดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามประกาศของธนาคารกรุงศรี


2. บันทึกรายรับ-รายจ่าย รู้นิสัยการใช้เงินของตัวเอง

            จะวางแผนเก็บเงินให้เหมาะกับตัวเองและเป้าหมายในชีวิตที่สุดก็จำเป็นต้องรู้จักตัวเองให้ดีพอก่อน ซึ่งการจะทำให้ได้นั้นก็ต้องสร้างวินัยทางการเงินโดยบันทึกรายรับ-รายจ่ายอย่างจริงจัง เพื่อให้รู้ว่าในแต่ละวัน แต่ละเดือน เรามีเงินเข้ามาเท่าไหร่ หมดเงินไปกับอะไร และหากใช้เงินแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จะมีพอใช้ตอนแก่หรือเปล่า ซึ่งอุปสรรคของข้อนี้ก็คือความตั้งใจไม่มากพอ ทำให้เราบันทึกได้ไม่ต่อเนื่องนั่นเอง ลองใช้ทฤษฎี 21 วันบังคับตัวเองให้บันทึกรายรับ-รายจ่ายติดต่อทุกวันดู ก่อนนอนก็หยิบมาคำนวณเงินคงเหลือแค่ไม่กี่นาที เท่านี้ก็สร้างนิสัยใหม่ได้ไม่ยากแล้ว
รปคน5.jpg


3. งดซื้อสิ่งล่อใจ อดทนไว้! เพื่ออนาคต

            สมัยนี้ รายรับเข้ามายาก แต่รายจ่ายออกไปไวเหลือเกิน เพราะมีช่องทางซื้อของมากมาย นั่งอยู่บ้านเฉย ๆ ก็ยังเสียเงินได้ หากใครต้องการสร้างวินัยทางการเงินให้กับตัวเองใหม่ นอกจากจะต้องรู้วิธีเก็บออมที่ได้ผลแล้ว ยังต้องรู้จักควบคุมตัวเองให้ได้ด้วย
            ลองปรับพฤติกรรมการซื้อของสักนิด ใช้วิธีลิสต์และคิดก่อนซื้อทุกครั้ง เพื่อสร้างวินัยทางการเงินและความเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิต อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ ลองปรับจังหวะในการตัดสินใจซื้อของให้ช้าลง จากที่เห็นปุ๊บ พออยากได้ก็กดสั่งซื้อหรือควักกระเป๋าปั๊บ เป็นการถอยออกมาก่อน ลิสต์รายการที่อยากได้ไว้ในสมุดหรือโทรศัพท์มือถือ พอผ่านไปสองสามวันค่อยถามตัวเองอีกทีว่าสิ่งนี้เป็นของที่ “ต้องใช้ (Need)” หรือ “ความอยากได้อยากมี (Want)” จากนั้น ให้ความสำคัญกับของจำเป็นก่อน พับความต้องการลงไป แล้วค่อยเก็บไว้ให้เป็นรางวัลตัวเองหลังจากเก็บเงินได้ตามเป้าหมาย รับรองว่า หากหักห้ามความอยากได้ครบ 21 วัน เราจะเป็นคนที่มีสติในการใช้เงิน และคำนึงถึงอนาคตมากขึ้น
แต่ถ้าเป็นของจำเป็นต้องซื้อ หรืออยากได้จริงๆ ลองใช้ แอปพลิเคชัน Kept ควบคู่กันไปด้วยก็ได้ เพราะแอป Kept มีฟีเจอร์แอบเก็บ ที่ช่วยเก็บเงินให้อัตโนมัติทุกครั้งที่ใช้จ่าย หยอดเข้าบัญชี (กระปุก) Fun ให้ทุกการใช้จ่าย ได้เก็บออมเงินไปด้วย แล้วการออมจะกลายเป็นเรื่องสนุกมากขึ้น และไม่จำเป็นจะต้องกดดันตัวเองถึงขนาดนั้น ด้วยการตั้งเงื่อนไขเพื่อวินัยทางการเงินอย่างการเก็บเงินทุกครั้งที่ใช้จ่ายเพื่อความต้องการ เช่น จะเก็บ 5% ของมูลค่าสินค้าที่ไปช้อปปิ้งมา นอกจากการแอบเก็บจะทำให้มีเงินในบัญชีเพิ่มขึ้นแล้ว พิเศษ! แอบเก็บได้ครบ 10 ครั้งในเดือน ก็จะได้รับดอกเบี้ยโบนัสในเดือนถัดไปเหมือนการเล่นเกมด้วย
          การออมเงินนั้น ยิ่งเริ่มก่อนยิ่งได้เปรียบ แต่เริ่มแล้วก็ต้องมีพื้นฐานที่ดีอย่างวินัยทางการเงินควบคู่กันไปด้วย ไม่ใช่เพียงแค่เก็บตอนที่นึกได้ว่าต้องทำ ลองนำไอเดียเปลี่ยนนิสัยด้านการเงินด้วยทฤษฎี 21 วันที่เรานำมาฝากไปใช้ดูแล้วจะพบว่า แค่ปรับเพียงนิด ชีวิตก็เปลี่ยนแล้ว และหากใครอยากสัมผัสกับประสบการณ์การออมแบบใหม่ที่เหมือนมีตัวช่วยคอย “เก็บ” ให้เราอยู่เสมอ ลองใช้ Kept แอปเก็บเงินแนวใหม่จากธนาคารกรุงศรีอยุธยาที่มาพร้อมฟีเจอร์ช่วยบริหารเงินอัตโนมัติ ผ่าน กระเป๋า Kept สำหรับใช้จ่ายประจำวัน กระปุก Grow เพื่อการออมเงินก้อนที่ให้ได้ดอกเบี้ยมากกว่าเดิม และยังมี กระปุก Fun คอยแอบเก็บเงินแทนเราทุกครั้งที่ใช้จ่ายอีกด้วย คลิกที่นี่ เพื่อเริ่มเก็บด้วย Kept ตั้งแต่วันนี้เลย