Kept by krungsri
GET - On the App Store
เทคนิคการออม

สูตรเก็บเงินฉบับมนุษย์เงินเดือน

Share

Highlight

รู้หรือไม่ว่าการออมเงินไม่ได้ยากอย่างที่คิด! เพียงรู้เทคนิคการออมเงินและนำมาปรับใช้กับตนเองให้เป็นนิสัย มนุษย์เงินเดือนที่มีรายรับคงที่ ทำให้สามารถวางแผนเรื่องเงินได้ชัดเจน ลองทำตามนี้เลย 👇

1. แบ่งสัดส่วนเงินให้ชัดเจน
2. ช้อปเท่าไหร่ ออมเท่านั้น!
3. ศึกษาการลงทุนต่าง ๆ
4. หาตัวช่วยดี ๆ ในการจัดการเงิน

เริ่มเก็บเงินง่าย ๆ ด้วยวิธีเก็บเงินฉบับมนุษย์เงินเดือน

          รู้หรือไม่ว่าการออมเงินไม่ได้ยากอย่างที่คิด! เพียงแค่ต้องรู้เทคนิคการออมเงินและนำมาปรับใช้กับตนเองให้เป็นนิสัย ยิ่งเป็นมนุษย์เงินเดือน บอกเลยว่าเรื่องการเก็บออมเงินนั้นเป็นเรื่องง่ายกว่าที่คิด เพราะมนุษย์เงินเดือนรายรับคงที่ ทำให้สามารถวางแผนเรื่องเงินได้ชัดเจน หากคุณเป็นหนึ่งคนที่อยากรู้จักกับวิธีเก็บเงินแบบมนุษย์เงินเดือนด้วยวิธีง่าย ๆ ที่ทำได้จริง บทความนี้จะมาบอกสูตรออมเงินแบบหมดเปลือกให้ทุกคนได้รู้กัน

เทคนิคที่ 1: แบ่งสัดส่วนเงินให้ชัดเจน

สูตรออมเงินที่ดี ต้องเริ่มด้วยการแบ่งสัดส่วนค่าใช้จ่ายให้เป็น

        สูตรการออมเงิน ข้อแรกก็คือการแบ่งสัดส่วนของเงินตั้งแต่ที่ได้เงินมา ข้อดีของเทคนิคการแบ่งสัดส่วนของเงินให้ชัดเจนนั้นคือช่วยให้เราสามารถบริหารเงินได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เพราะรู้ว่าเงินที่มีนั้นจะต้องนำไปใช้จ่ายในส่วนใดบ้าง และมีส่วนใดที่เหลือเก็บ หลาย ๆ คนใช้เทคนิคการออมเงินแบบนี้ในการเริ่มเก็บเงินง่าย ๆ และได้ผลมาแล้ว
        สูตรแบ่งสัดส่วนที่ถูกนิยมใช้กันคือ “50-30-20” ซึ่งจะแบ่งออกเป็น “ค่าใช้จ่ายประจำวัน-ค่าใช้จ่ายส่วนตัว - เงินสำหรับเก็บออม” ยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่าย ๆ คือ เงินเดือน 20,000 บาท ก็แบ่งเป็น 3 ส่วนทันที ส่วนแรก 50%  10,000 บาท ส่วนที่สองจำนวน 30% 6,000 บาท และส่วนสุดท้าย 20% 4,000 บาท
          เมื่อแบ่งเงินออกเป็นสัดส่วนแบบนี้แล้วก็จะทำให้เรามองเห็นภาพมากยิ่งขึ้นว่าในแต่ละเดือนนั้นเรามีเงินสำหรับใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ เท่าไหร่บ้าง อีกทั้งในส่วนของเงิน 20% ที่เป็นส่วนของเงินเก็บนั้น เราสามารถตัดสินใจได้ว่าจะเอาไปเก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง หรือลงทุนกับกองทุนและประกันชีวิตต่าง ๆ เพื่อเป็นเงินเก็บสำหรับหลังเกษียณ

เทคนิคที่ 2: ช้อปเท่าไหร่ ออมเท่านั้น!

สายช้อปต้องหักดิบ จ่ายเท่าไหร่ เก็บเท่านั้น!

          อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้การออมเงินไม่สำเร็จของมนุษย์เงินเดือนก็คือการช้อปปิ้ง พอเงินเดือนออกปุ๊ปก็อยากจะพุ่งตัวไปซื้อของที่เล็งไว้ทันที จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมถึงเก็บเงินไม่อยู่สักที ดังนั้นใช้จ่ายตามใจสายช้อปจะต้องลองวิธีออมเงินแบบสายแข็ง แต่ทำได้จริง ๆอย่างการเก็บเงินให้เท่ากับที่จ่ายออกไป
            เช่น หากซื้อรองเท้าคู่ละ 1,200 บาท ก็ต้องหักเงินไปไว้ในบัญชีเงินออมทันที 1,200 เช่นกัน วิธีเก็บเงินวิธีนี้ นอกจากจะช่วยทำให้เก็บเงินได้จริง ๆ แล้ว ยังจะทำให้เราได้คิดแล้วคิดอีกเกี่ยวกับของที่ต้องการซื้อ ว่าเราต้องการสิ่งนั้นจริง ๆ หรือไม่ ซึ่งการใช้เทคนิคการออมเงินแบบนี้ อาจจะทำให้มีเงินเก็บมากกว่าที่หวังไว้ก็ได้ เพราะจะซื้ออะไรก็คิดและทบทวนจนไม่ได้ซื้อ เหลือเงินเก็บอีกเพียบ! ยุคนี้มีตัวช่วยให้เก็บได้แบบนี้จริงๆโดยไม่มีข้ออ้างด้วย เรียกว่าโอนเงินปุ๊ปเก็บเงินให้ปั๊ปเหมือน หยอดกระปุกดิจิทัล

เทคนิคที่ 3: ศึกษาการลงทุนต่าง ๆ

หากมีเงินเย็น สามารถนำไปลงทุนต่อได้หลากหลายช่องทาง

            มาถึงเทคนิคการออมเงินลำดับที่ 3 กันแล้ว การลงทุนนั้นไม่ยากอย่างที่คิด สำหรับการเริ่มเก็บเงินง่าย ๆ และเริ่มลงทุนแบบไม่ยุ่งยาก อาจจะลองเริ่มจากการลงทุนใน “กองทุนรวม” ก่อน เช่น กองทุนประเภท SFF/RMF ซึ่งเป็นกองทุนที่ถือระยะยาว แถมยังนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
  • SSF ย่อมาจาก “Super Savings Fund” หรือ “กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว” ที่สามารถลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท แถมยังไม่มีขั้นต่ำในการซื้อและไม่กำหนดว่าต้องซื้อต่อเนื่อง แต่มีข้อแม้ว่าซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี ทั้งหมดไม่เกิน 200,000 บาท โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2567 ซื้อแล้วถือได้ยาว ๆ 10 ปีไปเลย แถมยังสามารถนำไปหักภาษีได้อีกด้วย!
  • RMF ย่อมาจาก “Retirement Mutual Fund” หรือเรียกว่า “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” ซึ่งเป็นกองทุนที่สนับสนุนให้คนไทยเก็บออมระยะยาว สำหรับเป็นเงินที่เอาไว้ใช้ในช่วงเกษียณอายุ กองทุนประเภทนี้นั้นจะต้องซื้อเป็นประจำทุกปี ลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้แต่ละปีหรือ 5,000 บาท และสามารถขายคืนได้เมื่อผู้ลงทุนมีอายุ 55 ปีขึ้นไป
            การลงทุนเหล่านี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของสูตรออมเงิน ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่าลืมว่าทุกการลงทุนนั้นมีความเสี่ยง ทางที่ดีควรทำการศึกษาหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีประสบการณ์ก่อนเพื่อความชัวร์ในการลงทุนแต่ละครั้งด้วย

เทคนิคที่ 4: หาตัวช่วยดี ๆ ในการจัดการเงิน

แอปพลิเคชันรายรับรายจ่าย หรือแอปช่วยออมเงินก็น่าสนใจ

            ปิดท้ายเทคนิคการออมเงินด้วยการมองหาตัวช่วยดี ๆ อย่างการทำรายรับรายจ่าย ที่ในปัจจุบันนั้นมีแอปพลิเคชันรายรับรายจ่ายให้ดาวน์โหลดมาใช้กันแบบฟรี ๆ หลากหลายแอปซึ่งจะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์และวางแผนการใช้เงินของเราได้ว่ามีรายจ่ายส่วนใดบ้างที่ควรจะต้องลดลง หรือสามารถตัดทอนให้น้อยลงได้ เพื่อให้มีเงินเหลือสำหรับใช้จ่ายและเก็บออมมากยิ่งขึ้น

Download Kept.jpg

            หากไม่ถนัดทำรายรับรายจ่าย ก็ต้องลองหาแอปพลิเคชันที่ช่วยบริหารเงินมาใช้ก็ได้ อย่าง Kept by krungsri แอปบริหารเงินแนวใหม่ที่ช่วยเก็บออมและหยอดกระปุกให้แบบอัตโนมัติ บอกเลยว่านี่แหละเป็นสูตรเก็บเงินให้รวยสำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่ไม่ต้องการความยุ่งยาก แต่ละเทคนิคการออมเงินที่เอามาแชร์นั้นไม่ยากจนเกินไป วิธีการออมเงินเหล่านี้ไปปรับใช้กับตัวเองได้เลย จะได้เริ่มเก็บเงินง่าย ๆ กันสักที บทความวิธีการออมดีๆ เป็นประโยชน์สามารถแชร์ให้เพื่อนๆได้มาเริ่มเก็บออมเงินไปพร้อมๆกัน มาสร้างสังคมการการเก็บออมเงินกัน